การศึกษาสมบัติเชิงกลและกายภาพของอิฐบล็อกคอนกรีตผสมเปลือกหอยเชอรี่และน้ำยางพารา

  • ปิยะฉัตร ศุภวิทยาเจริญกุล
  • ลัคนา อนงค์ไชย
  • อาณัฐพงษ์ ภาระหัส
  • ธนวดี ละม่อม
  • ดร.อนุจิตร ภูมิพันธ์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ: อิฐบล๊อคคอนกรีน, เปลือกหอยเชอรี่, น้ำยางพารา, กำลังรับแรงอัด, หน่วยน้ำหนัก, การดูดซึมน้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำน้ำยางพารา (NA) และเปลือกหอยเชอรี่บด (AS) แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เพื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกคอนกรีตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.58-2533 คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก ในอัตราส่วนเปลือกหอยเชอรี่ร้อยละ 5 และ 10 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และน้ำยางพาราต่อปูนซีเมนต์ 0.05 และ 0.10 โดยน้ำหนักปูนซีเมนต์ ทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดที่อายุการบ่ม   7, 14 และ 28 วัน ทดสอบค่าหน่วยน้ำหนักและค่าการดูดซึมน้ำ ผลการวิจัยพบว่า NA10AS0, NA5AS10, NA10AS5 และ NA10AS10 ไม่สามารถขึ้นรูปเป็นอิฐบล็อกคอนกรีตได้ อัตราส่วนผสมเปลือกหอยเชอรี่แปลผกผันกับกำลังรับแรงอัดของอิฐบล็อกประสานโดยกำลังรับแรงอัดที่ 28 NA5AS0 และ NA10AS0 ลดลงร้อยละ 52.07 และ 59.55 ตามลำดับ อัตราส่วนน้ำยางพารา NA0AS5 ลดลง 34.30 อัตราส่วนเปลือกหอยเชอรี่และน้ำยางพารา NA5AS5 ลดลงร้อยละ 84.30 หน่วยน้ำหนักของอิฐบล๊อคคอนกรีตเปลือกหอยเชอรี่ NA0AS5, NA0AS10, NA5AS0 และ NA5AS5 อยู่ที่ 1,187-1,607 kg/m³ โดยหน่วยน้ำหนักของอิฐบล๊อคสูงขึ้นโดยแปรผันตรงตามอัตราส่วนผสมเปลือกหอยเชอรี่ ในขณะที่น้ำยางพารา NA5AS0 ในส่วนเปลือกหอยเชอรี่และน้ำยางพารา NA5AS5 จะเพิ่มหน่วยน้ำหนักขึ้นเล็กน้อย ในส่วนร้อยละการดูดซึมน้ำ NA0AS5, NA0AS10, NA5AS0 และ NA5AS5 การดูดซึมน้ำจะอยู่ที่ร้อยละ 6.52-8.20 การดูดซึมจะแปรผันตรงตามอัตราส่วนเปลือกหอยเชอรี่ และแปรผกผันตามอัตราส่วนน้ำยางพารา NA5AS5 การดูดซึมน้ำมีค่าเท่ากับ 7.19 ซึ่งอยู่ระหว่าง NA0AS5 และ NA5AS0

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง