การเปรียบเทียบผลกระทบจากการเจาะอุโมงค์ที่มีต่อเสาเข็มเมื่อถูกป้องกันด้วยดินซีเมนต์ที่มีรูปทรงต่างกัน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การขุดเจาะอุโมงค์ใกล้แนวเสาเข็ม, พฤติกรรมของเสาเข็ม, การฉีดน้ำปูนซีเมนต์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของชั้นดินระหว่างการเจาะอุโมงค์ที่มีต่อเสาเข็มของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงซึ่งได้แก่ แรงในแนวแกน, โมเมนต์ดัด และการเคลื่อนตัวที่เพิ่มขึ้นจากสภาพปกติทั้ง 3มิติ โดยสมมติให้มีการปรับปรุงชั้นดินด้วยการฉีดน้ำปูนซีเมนต์ในรูปแบบต่างๆด้วยปริมาตรที่เท่ากัน แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ แล้วนำผลจากการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบเหล่านั้น จากการศึกษาพบว่า การฉีดน้ำปูนซีเมนต์ส่งผลดีต่อการลดแรงในแนวแกน, โมเมนต์ดัดและการเคลื่อนตัวของชั้นดิน ที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์ โดยลักษณะรูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์ที่ปรับปรุงชั้นดินเป็นแนวกำแพงนั้นจะช่วยส่งผลดีในเรื่องของแรงในแนวแกน และ การทรุดตัวของชั้นดินได้ดีกว่ารูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์บริเวณที่อุโมงค์วิ่งผ่าน (แบบกล่อง) อยู่ 0.44% และ 0.04% ตามลำดับ แต่ในส่วนของการลดโมเมนต์ดัดนั้นสำหรับรูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์บริเวณที่อุโมงค์วิ่งผ่าน (แบบกล่อง) กลับให้ผลตอบรับที่ดีกับเสาเข็มมากกว่า
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์