การสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ จากการเก็บข้อมูลงานก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ผู้แต่ง

  • ผศ.อิทธิพงศ์ พันธ์นิกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ผศ.ดร.นท แสงเทียน
  • ผศ.ดร.ธนภร ทวีวุฒิ

คำสำคัญ:

การสร้างแบบจำลองงานก่อสร้าง, การจำลองสถานการณ์งานก่อสร้าง, การผลิตบ่อพัก ค.ส.ล., การก่อสร้างระบบระบายน้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างระบบระบายน้ำ จากการนำข้อมูลภาคสนาม มาทำแบบจำลอง และจำลองสถานการณ์ก่อสร้างในคอมพิวเตอร์ โดยเก็บข้อมูลจากโครงการ หมู่บ้านจัดสรรที่มีพื้นที่ 174 ไร่ ใน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ข้อมูลภาคสนาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตบ่อพัก ค.ส.ล. เพื่อเตรียมไว้ใช้ในการก่อสร้าง ในระบบระบายน้ำ และ การดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ผลจากข้อมูลภาคสนามที่นำมากำหนดเป็นแบบจำลอง จะถูกสอบทานจากชุดข้อมูลภาคสนามในการจำลองสถานการณ์เพื่อให้ได้ผลที่แม่นตรงกับภาคสนามที่สุด ก่อนนำแบบจำบลองนั้นไปหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ทั้งนี้ตั้งบนสมมุติฐานคือ ไม่เพิ่มจำนวน แรงงาน หรือ เครื่องจักร แต่จะเพิ่มประสิทธิภาพงาน จากการปรับใช้แรงงานให้ได้ประสิทธิภาพงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับปรุงลำดับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 การผลิตบ่อพัก ค.ส.ล. สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพได้ร้อยละ 10 โดยการผลิตบ่อพัก ค.ส.ล. จำนวน 140 บ่อ เดิมต้องใช้เวลา 40 วัน ลดเหลือ 36 วัน สำหรับส่วนที่ 2 การก่อสร้างระบบระบายน้ำทั้งโครงการ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ร้อยละ 7.62 โดยการก่อสร้างระบบระบายน้ำ เดิมต้องใช้เวลา 105 วัน ลดเหลือ 97 วัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
พันธ์นิกุล ผ., แสงเทียน ผ., และ ทวีวุฒิ ผ. ., “การสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ จากการเก็บข้อมูลงานก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น”, ncce27, ปี 27, น. CEM41–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง