การวิเคราะห์คานคอนกรีตอัดแรงในสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรีด้วยแบบจำลอง FEM โดยโปรแกรม ATENA
บทคัดย่อ
สะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรีเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงแบบอัดแรงทีหลังโดยแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณปากแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเลจึงมีแนวโน้มสูงที่จะสูญเสียเหล็กรับแรงเสริมเนื่องจากการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียอัตราส่วนการเสริมแรงและการหลุดลอกของคอนกรีต รวมทั้งยังมีการสูญเสียเนื่องจากการเสื่องแรงของลวดอัดแรงที่ส่งผลให้โครงสร้างสะพานเกิดการโก่งตัวและรอยแตกร้าว ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักและส่งผลต่อเสถียรภาพของโครงสร้าง รวมถึงมีปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพโครงสร้างคานสะพานส่วนบน โดยการศึกษาพฤติกรรมและทำนายรูปแบบความล้มเหลวของโครงสร้างสะพานโดยใช้แบบจำลอง 2 มิติ ด้วยการวิเคราะห์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เชิงเส้น (Non-linear Finite Element) โดยโปรแกรม ATENA 2D และใช้ข้อกำหนดต่างๆโดยอ้างอิงจาก AASHTO LRFD-2007 จากผลการวิเคราะห์แบบจำลองนี้พบว่าอิทธิพลของการเสื่อมแรงของลวดอัดแรงมีผลมากกว่าอิทธิพลจากการกัดกร่อนของปฎิกิริยาคลอโรชั่น นอกจากนี้สะพานมีค่ามากกว่ามาตรฐาน AASHTO ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคานมีการเสื่อมสภาพเพียงเล็กน้อย ดังนั้นสะพานยังสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของโครงสร้าง รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้าง เพื่อยืดอายุการใช้งานในอนาคต
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์