การนำฟางข้าวเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรเป็นมวลรวมในการผลิตอิฐบล็อกประสานน้ำหนักเบา

  • พิรุฬห์ ศิริพุฒ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กัญจน์อมล ทองเชื้อ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เหมวดี ทองเชื้อ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธีวรา สุวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ: ฟางข้าว, มวลรวมน้ำหนักเบา, อิฐบล็อกประสาน, กำลังอัด

บทคัดย่อ

ฟางข้าวเป็นส่วนที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวข้าวจำนวนมหาศาลในทุกปีของระยะหลังเก็บเกี่ยว โดยส่วนใหญ่นั้นเกษตรกรเลือกวิธีการกำจัดฟางข้าวด้วยวิธีการที่ง่ายและสะดวกนั้นคือ การเผาทำลาย ซึ่งเพื่อที่จะลดมลพิษทางอากาศและ PM 2.5 ในช่วงฤดูหลังการเก็บเกี่ยวนั้น จึงได้ประยุกต์การนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทางผู้จัดทำได้ทำการศึกษาการใช้ฟางข้าวในการผลิตอิฐบล็อกซีเมนต์มวลเบาโดยเทคนิคการขึ้นอัดรูปอิฐบล็อกประสาน ซึ่งพบว่าฟางข้าวที่มีสภาวะอิ่มตัวผิวแห้ง มีความสามารถรับแรงอัดได้ดีกว่าฟางที่สภาวะผิวแห้งในอากาศ เนื่องจากฟางข้าวมีความนุ่มและยืดหยุ่นมากกว่า และยังมีปริมาณน้ำที่อยู่ในตัวฟางข้าวเพียงพอต่อการเกิดการบ่มภายในตัวอย่างทดสอบ โดยอัตราส่วนผสมน้ำต่อซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ฟางข้าวในการผลิตอิฐบล็อกซีเมนต์มวลเบาโดยเทคนิคการขึ้นอัดรูปอิฐบล็อกประสาน คือ 0.30 และมีปริมาณฟางที่ 2 % โดยน้ำหนัก จากผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุก่อสร้างอีกทางหนึ่งด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-05
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง