กำลังและความต้านทานการขัดสีของคอนกรีตที่ใช้เศษขยะพลาสติกแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วน

ผู้แต่ง

  • บรรณกร ขันตา ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • บุญเลิศ แก้วประจำ
  • อัญชนา กิจจานนท์
  • ลีน่า ปรัก
  • ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์
  • ทวีชัย สำราญวานิช

คำสำคัญ:

กำลังอัด, กำลังดัด, กำลังดึงแบบผ่าซีก, ความต้านทานการขัดสี, เศษขยะพลาสติก

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของการแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนด้วยขยะพลาสติกต่อกำลังอัด กำลังดัด กำลังดึงแบบผ่าซีก ความต้านททานการขัดสีของคอนกรีตเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ผสมมวลรวมธรรมชาติ ใช้มวลรวมเศษพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) แทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนร้อยละ 10 20 และ 30 โดยปริมาตรมวลรวมละเอียด ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 ทำการทดสอบกำลังอัด กำลังดัด กำลังดึงแบบผ่าซีกและความต้านทานการขัดสี จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ใช้ขยะพลาสติก (ทั้ง PVC PP และ PET) แทนที่บางส่วนของมวลรวมละเอียดมีกำลังอัด กำลังดัดและกำลังดึงแบบผ่าซีกต่ำกว่าคอนกรีตที่ผสมมวลรวมธรรมชาติ แต่มีความต้านทานการขัดสีสูงกว่าคอนกรีตควบคุมที่ผสมมวลรวมธรรมชาติ การเพิ่มปริมาณแทนการที่มวลรวมละเอียดด้วยขยะพลาสติกทำให้กำลังอัด กำลังดัดและกำลังดึงแบบผ่าซีกลดลง แต่กลับทำให้ความต้านทานการขัดสีดีขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
ขันตา บ., แก้วประจำ บ., กิจจานนท์ อ., ปรัก ล., เชื้อสวัสดิ์ ธ. ., และ สำราญวานิช ท. ., “กำลังและความต้านทานการขัดสีของคอนกรีตที่ใช้เศษขยะพลาสติกแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วน”, ncce27, ปี 27, น. MAT33–1, ก.ย. 2022.