การประยุกต์อากาศยานไร้คนขับสำหรับการทำแผนที่เหมืองหิน กรณีศึกษา โรงโม่หินเพชรเมืองเลย
คำสำคัญ:
อากาศยานไร้คนขับ, การรังวัดภาพเชิงเลข, เหมืองหินบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอเรื่องการประยุกต์การสำรวจด้วยการรังวัดภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับหรือ UAVs สำหรับการทำแผนที่เหมืองหิน ตามมาตรฐาน กพร. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ภาพถ่ายออร์โธบริเวณเหมืองหินจากการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจาก อากาศยานไร้คนขับ จุดควบคุมภาคพื้นดินจำนวน 6 จุด รังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS โดยสถานี CORS พื้นที่ศึกษาเหมืองหิน เพชรเมือง เลย บินที่ความสูง 140 ม. จำนวน 793 ภาพขนาดจุดภาพเฉลี่ย 4 ซม. ผลค่าความคลาดคลื่อนการฉาย 0.103 จุดภาพ ความคลาดเคลื่อนการรังวัดจุด ควบคุมภาคพื้นดิน มีค่าเท่ากับ RMSE X 4.8 ซม. RMSE Y 3.4 ซม. RMSE Z 0.7 ซม. และจุดตรวจสอบ RMSE X 6.4 ซม. RMSE Y 4.9 ซม. RMSE Z 8.7 ซม. เป็นตามมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม สามารถผลิตแผนที่จัดส่ง กพร. ต่อไปได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์