คุณสมบัติกำลัง ความต้านทานคลอไรด์และความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวของคอนกรีตเสริมเส้นใยพลาสติกโลหะ

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ทองพยุง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • บุษยกานต์ แก้วแก่นฟ้า
  • อัญชนา กิจจานนท์
  • ลีน่า ปรัก
  • ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์
  • ทวีชัย สำราญวานิช

คำสำคัญ:

คอนกรีต, เส้นใยพลาสติกโลหะ, กำลัง, ความต้านทานคลอไรด์, ความต้านทานไฟฟ้าที่ผิว

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการใช้ขยะพลาสติกโลหะเป็นเส้นใยในคอนกรีต โดยใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นวัสดุประสานหลักและใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 ทำการศึกษาปริมาณเส้นใยพลาสติกโลหะร้อยละ 0.5 1.0 และ 1.5 โดยปริมาตรของคอนกรีต และความยาวเส้นใย 20 mm และ 40 mm โดยที่ความกว้างเส้นใย 2 mm ทำการหล่อตัวอย่างคอนกรีตเพื่อทดสอบกำลังอัด กำลังดึงแบบผ่าซีกและกำลังดัดที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7 28 และ 56 วัน และทดสอบความต้านทานคลอไรด์แบบแพร่ทั้งหมดและความต้านทานไฟฟ้าที่ผิว จากผลการศึกษาพบว่า การใช้เส้นใยพลาสติกโลหะทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตควบคุมที่ไม่ผสมเส้นใยพลาสติกโลหะ คอนกรีตผสมเส้นใยพลาสติกโลหะร้อยละ 0.5 มีกำลังดึงแบบผ่าซีกและกำลังดัดมากที่สุด ในขณะที่คอนกรีตผสมเส้นใยพลาสติกโลหะร้อยละ 1.0 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบแพร่ทั้งหมดต่ำที่สุดและความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวสูงที่สุด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
ทองพยุง ก., แก้วแก่นฟ้า บ. ., กิจจานนท์ อ. ., ปรัก ล. ., เชื้อสวัสดิ์ ธ. ., และ สำราญวานิช . ท. ., “คุณสมบัติกำลัง ความต้านทานคลอไรด์และความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวของคอนกรีตเสริมเส้นใยพลาสติกโลหะ”, ncce27, ปี 27, น. MAT36–1, ก.ย. 2022.