การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ควบคู่กับแบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟ ในการประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกพืชน้ำมันที่ไม่ใช่พืชอาหาร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชุติมา ไวยสุระสิงห์

คำสำคัญ:

แบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟ, กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์, ระบบภูมิสารสนเทศ

บทคัดย่อ

ณ ขณะปัจจุบัน ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเผชิญวิกฤตความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่กับการขาดแคลนอาหาร ทั้งนี้เพราะพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานเชื้อเพลิงไบโอดีเซลซึ่งวัตถุดิบหลักอย่างน้ำมันปาล์มถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในการผลิต ส่งผลให้ราคาของผลปาล์มน้ำมันสูงขึ้น พร้อมกันนี้ปาล์มน้ำมันเองก็เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมภาคอาหาร ประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานจึงกำลังอยู่ในวิกฤตการณ์ ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่ที่มีดินเหล่านี้เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวคือการเพาะปลูกสบู่ดำในพื้นที่ที่มีดินที่มีปัญหาเพื่อใช้ในการเป็นแหล่งวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมไบโอดีเซลโดยไม่กระทบต่ออาหารจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ งานศึกษาวิจัยนี้จึงเน้นไปที่การประเมินศักยภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการเพาะปลูกสบู่ดำ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ควบคู่กับแบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟ ที่ให้ผลลัพธ์เป็นการประเมินระดับความเหมาะสมของพื้นที่ต่าง ๆ ในการเพาะปลูกสบู่ดำ รวมถึงคาดการณ์ได้ถึงพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ในการเพาะปลูกสบู่ดำในอนาคตที่จะขยายตัวจากพื้นที่เริ่มต้นไปอย่างไร และพื้นที่เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่ำสำหรับพืชอื่น ผู้วิจัยแสดงตัวอย่างผลการจำลองฉากทัศน์กรณีจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งช่วยสะท้อนภาพอันเป็นวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ไวยสุระสิงห์ ช. และ ไวยสุระสิงห์ ช. ., “การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ควบคู่กับแบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟ ในการประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกพืชน้ำมันที่ไม่ใช่พืชอาหาร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย”, ncce27, ปี 27, น. SGI02–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์