การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นเพื่อเลือกพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวภาพ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

  • วรรณิศา สุขโสภา
  • ต่อลาภ การปลื้มจิตร
  • ชยณัฐ บัวทองเกื้อ
  • ศศิมาภรณ์ แก้วจุลพันธ์
  • ณัฐพล แก้วทอง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
คำสำคัญ: กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น, พื้นที่เหมาะสม, โรงไฟฟ้าชีวภาพ, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวภาพอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาเป็นกรณีศึกษาการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมด้านระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยด้วยการวิเคราะห์แบบกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process, AHP) ซึ่งได้กำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์และให้น้ำหนักคะแนนความสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ซึ่ง ผลการกำหนดปัจจัยและน้ำหนักคะแนนในแต่ละปัจจัยมีน้ำหนักคะแนนดังนี้ ปัจจัยด้านพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 32.20 ปัจจัยด้าน ระยะห่างจากชุมชนมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 22.88 ปัจจัยด้านระยะห่างจากป่าสงวนมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 15.98 ปัจจัยด้านระยะห่างจากถนนสายหลัก และระบบสายส่งมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 10.93 ปัจจัยด้านพื้นที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 6.41 ปัจจัยด้านระยะห่างจากแหล่งน้ำมีน้ำหนัก คะแนนร้อยละ 6.06 และปัจจัยด้านราคาที่ดินมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 5.54 ผลการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละของพื้นที่ตำบล ได้แก่ พื้นที่ ตำบลเขาพระมีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุดร้อยละ 61.58 รองลงมาคือ พื้นที่ตำบลกำแพงเพชรมีพื้นที่เหมาะสมร้อยละ 43.76 พื้นที่ตำบลท่าชะมวงมีพื้นที่ เหมาะสมร้อยละ 22.53 ส่วนตำบลคูหาใต้และตำบลควนรูไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสม

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
สุขโสภาว., การปลื้มจิตรต., บัวทองเกื้อช., แก้วจุลพันธ์ศ., และ แก้วทองณ., “การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นเพื่อเลือกพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวภาพ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา”, ncce27, ปี 27, น. SGI08-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้