แนวทางการพัฒนาระบบจักรยานพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา : คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ ไตรศิลป์วิศรุต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร
  • สุพรชัย อุทัยนฤมล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ทางจักรยาน, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, ค่าน้ำหนักความสำคัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว 2) เสนอรูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว โดยรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษาและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่ เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม สังคม มีค่าน้ำหนักความสำคัญสูงที่สุด (ร้อยละ 39) รองลงมาคือปัจจัยด้านวิศวกรรมการทาง มีค่าน้ำหนักความสำคัญ (ร้อยละ34) และปัจจัยปัจจัยด้านการลงทุนและก่อสร้าง มีค่าน้ำหนักความสำคัญน้อยที่สุด (ร้อยละ24)  รูปแบบทางจักรยานที่มีความเหมาะสมมากที่สุดตามลำดับ  คือ รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบที่มีการก่อสร้างใหม่ ได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 82.12 คะแนน รูปแบบที่ 2 เป็นการปรับปรุงสภาพื้นที่ ได้คะแนนเท่ากับ 76.63 คะแนน และรูปแบบที่ 1 เป็นสภาพพื้นที่เดิม ได้คะแนนเท่ากับ 53.36 คะแนน  โดยผลการวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการศึกษาในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งรูปแบบทางจักรยานแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการก่อสร้างทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์