การวิเคราะห์ความขัดแย้งบริเวณจุดกลับรถกรณีมีช่องรอเลี้ยวและไม่มีช่องรอเลี้ยว

ผู้แต่ง

  • บัญชา มะโน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กิตติชัย ธนทรัพย์สิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

จุดกลับรถ, เกาะกลาง, ช่องรอเลี้ยว, แบบจำลองสภาพการจราจร, SSAM

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบความขัดแย้งบริเวณจุดกลับรถแบบมีช่องรอเลี้ยวและไม่มีช่องรอเลี้ยว กรณีเกาะกลางไม่เกิน 3.0 เมตร และความเหมาะสมการปรับปรุงรูปแบบจุดกลับรถแบบมีช่องรอเลี้ยวและไม่มีช่องรอเลี้ยว ผู้วิจัยสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม VISSIM โดยใช้ข้อมูลภาคสนามบนทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) บริเวณตลาดเสาธงและบริเวณหน้าห้างบิ๊กซี สาขา 2 ในพื้นที่ สำนักงานทางหลวงที่ 11 (ลพบุรี) โดยเก็บข้อมูล 2 ช่วงเวลา ในวันทำงาน ช่วงเช้า (06.30 น. – 08.00 น.) และช่วงเย็น (15.00 น. – 16.30 น.) เป็นเวลา 2 วัน  สร้างแบบจำลอง 9 แบบจำลองเมื่อพัฒนาแบบจำลองแล้วนั้น ทำการวิเคราะห์ผลการเกิดความขัดแย้งด้วยโปรแกรม SSAM ตัวแปรที่พิจารณาในงานวิจัยนี้ได้แก่ ค่าระดับบริการ, ค่าความยาวแถวคอย, ค่าปริมาณการจราจร , ค่าความล่าช้าเฉลี่ย , ค่าเวลาในการชน จากการวิเคราะห์พบว่าเมื่อปรับปรุงบริเวณจุดกลับจากแบบไม่มีช่องรอเลี้ยวเป็นแบบมีช่องรอเลี้ยวทำให้จำนวนครั้งการเกิดความขัดแย้งลดลง ส่งผลทำให้โอกาสการเกิดอุบัติเหตุลดลงตามไปด้วย ค่าความล้าช้าเฉลี่ยลดลง ระดับบริการดีขึ้นตามไปด้วยและอุบัติเหตุการชนท้ายลดลง และยังพบว่าการเพิ่มระยะความยาวช่องรอเลี้ยวสามารถลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุชนท้ายด้วย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์