การพัฒนาบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ร่วมกับเถ้าเหลือทิ้งจากปาล์มน้ํามัน เพื่อการส่งเสริมการสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะจากธรรมชาติ

  • พิชิต เจนบรรจง
  • วุฒินัย กกกําแหง
  • สุวัฒน์ชัย ทองน้อย
  • องอาจ นวลปลอด
  • สารัตน์ นุชพงษ์
  • เจต พานิชภักดี ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  • ศิริพร ลาภเกียรติถาวร
คำสำคัญ: บล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง, เถ้าเหลือทิ้งจากปาล์มน้ำมัน, การเจริญเติบโตของพืช

บทคัดย่อ

งานศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ร่วมกับเถ้าเหลือทิ้งจากปาล์มน้ํามัน (เถ้าหนัก หรือเถ้าลอย) ที่สามารถป้องกนัการชะล้างหน้าดิน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยที่รากสามารถยึดโยงช้ันดิน เกิดเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่งตามธรรมชาติโดยการศึกษาเริ่มจาก การออกแบบรูปทรงบล็อก การศึกษาสัดส่วนผสมเถ้าหนัก หรือเถ้าลอยเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมปาล์มนํ้ามันที่ใช้ในการผลิตบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง การทดสอบการจําลองน้ําไหลผ่านชั้นบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่งที่ปูบนผ้ากรอง และการทดสอบการเจริญเติบโตของพืช เมื่อปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ จากการศึกษา พบว่า รูปทรงบล็อกที่ออกแบบ สามารถทนทานต่อการไหลของน้ําที่จําลองขึ้นได้เป็นอย่างดีและภายในรูยังสามารถลดความเร็วของกระแสน้ำได้ร้อยละ 95.2 เมื่อเทียบกับความเร็วของกระแสน้ําที่ไหลผ่านบนผิวบล็อก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการตกตะกอนของดนิ ที่พัดพามากับกระแสน้ํา และลดการกัดเซาะที่จะเกิดขึ้นจากการไหลของกระแสน้ำ โดยบล็อกที่มีสัดส่วนผสมเถ้าหนัก ให้ค่าความต้านทานแรงอัดที่สูงสุด คือ 27.7 เมกะพาสคัล ที่สัดส่วนเถ้าหนักต่อหินฝุ่น ร้อยละ 24 เมื่อนําไปทดสอบหาค่าความต้านทานแรงอัดเทียบกับผันแปรสัดส่วนผสม ในขณะที่บล็อกที่มีสัดส่วนผสมของเถ้าลอย จะมีค่าความต้านทานแรงอัดที่ลดลง เมื่อมีสัดส่วนผสมของเถ้าลอยที่เพิ่มขึ้น โดยบล็อกที่มีสัดส่วนผสมเถ้าลอย ให้ค่าความต้านทานแรงอัดที่สูงสดุ คือ 26.2 เมกะพาสคัลที่สัดส่วนเถ้าลอยต่อหินฝุ่น ร้อยละ 1.66 นอกจากนั้น จากการทดสอบการจําลองน้ําไหลผ่านชั้นบล็อก พบว่า บล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่งสามารถป้องกันการกัดเซาะดินใต้แนวป้องกันได้เป็นอย่างดีโดยที่บล็อกไม้ยกลอยเนื่องจากการไหลของน้ำ และเม่ือระยะเวลาผ่านไป 1 เดือน จะพบการเจริญเติบโตของ
พืชบนบล็อกป้องกันการกดัเซาะตลิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง