การนำเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอิฐดินเหนียวอบด้วยอุณหภูมิต่ำ

ผู้แต่ง

  • วัชระ ศรีสะกูล สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • กิตติ เชาวนะ สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • นุอนันท์ คุระแก้ว
  • ธนันท์ ชุบอุปการ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

อิฐดินเหนียว, อิฐดินเหนียวเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ, เถ้าปาล์ม, เถ้าไม้ยางพารา, เทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยอัลคาไล

บทคัดย่อ

การผลิตอิฐมอญแบบดั่งเดิมต้องใช้ความร้อนสูง และในพื้นที่มีเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษในรูปของเถ้าลอยซึ่งส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตอิฐดินเหนียวเผาที่อุณหภูมิต่ำด้วยเทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยอัลคาไล โดยใช้วัสดุตั้งต้น ได้แก่ เถ้าปาล์มและเถ้าไม้ยางพาราซึ่งเป็นเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรและดินเหนียวซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ออกแบบส่วนผสมวัสดุสามชนิดเพื่อให้ได้องค์ประกอบอลูมินาและซิลิกาที่เหมาะสมสำหรับการเกิดปฏิกริยาทางเคมี จากนั้นผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และทั้งสองชนิดผสมกันความเข้มข้น 15 โมลาร์ ตัวอย่างขนาด 5x5x5 ลูกบาศก์เซนติเมตรถูกบ่มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 วัน ทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐที่บ่มในอากาศ 7 14 28 และ 60 วัน สุดท้ายนำมาเปรียบเทียบกับอิฐที่เผาด้วยวิธีดั่งเดิม ผลการศึกษาพบว่าสามารถพัฒนาคุณสมบัติอิฐดินเหนียวเผาที่อุณหภูมิต่ำให้กำลังรับแรงอัดสูงสุด 262.06 ksc ซึ่งสูงกว่าการเผาด้วยวิธีดั่งเดิม การผสมเถ้ามากขึ้นทำให้กำลังรับแรงอัดและความหนาแน่นลดลง อิฐเผาที่อุณหภูมิต่ำไม่หดตัวและไม่ละลายน้ำ บ่งบอกว่ามีโครงสร้างแข็งแรงเทียบเท่าอิฐเผาที่อุณหภูมิสูง สามารถเป็นทางเลือกในการพัฒนาอิฐเพื่อใช้ในงานสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจและประหยัดพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-27

วิธีการอ้างอิง