การประเมินประสิทธิภาพของจุดกลับรถบริเวณเกาะกลาง กรณีศึกษา : จุดกลับรถรูปแบบเพิ่มพื้นที่ กลับรถบรรทุกและรูปแบบไม่เพิ่มพื้นที่กลับรถบรรทุกบนถนน 4 ช่องจราจร

  • ธนกร ไชยารุ่งยศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำสำคัญ: จุดกลับรถ, ความจุ, แบบจำลองการจราจร

บทคัดย่อ

จุดกลับรถบริเวณเกาะกลางนั้นเมื่อพิจารณาถึงปัญหาเพื่อปรับปรุงให้จุดกลับรถมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย พบว่าสาเหตุหลัก 3 ประการ ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณรถที่สามารถกลับรถได้, (2) ความยาวของช่องรอเลี้ยว, และ (3) การบดบังระยะมองเห็น โดยจากปัญหาดังกล่าวมัก พบกับจุดกลับรถรูปแบบไม่มีพื้นที่สำหรับรถบรรทุก และรูปแบบมีพื้นที่สำหรับรถบรรทุก บนถนน 4 ช่องจราจร สำหรับการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพจุดกลับรถ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการด้วยแบบจำลองการจราจร จากผลการวิจัยพบว่าปัจจัยในการเปิดจุดกลับรถขึ้นอยู่ 2 ส่วนได้แก่ (1) ลักษณะกายภาพของจุดกลับรถ จำพวก ความยาวของช่องรอเลี้ยว, ขนาดของเกาะกลาง และความกว้างของเขตทาง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณจราจรรถทางตรงฝั่งตรงกันข้ามและปริมาณรถกลับรถ โดยที่ความจุของการกลับรถสูงสุดอยู่ในช่วง 1,100-1,200 คันต่อชั่วโมง และจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณจราจรของรถทางหลักฝั่งตรงข้ามสูงขึ้น ในส่วนของผลของความยาวแถวคอยจะแปรผันตรงกับความจุของจุดกลับรถด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
ไชยารุ่งยศธ., “การประเมินประสิทธิภาพของจุดกลับรถบริเวณเกาะกลาง กรณีศึกษา : จุดกลับรถรูปแบบเพิ่มพื้นที่ กลับรถบรรทุกและรูปแบบไม่เพิ่มพื้นที่กลับรถบรรทุกบนถนน 4 ช่องจราจร”, ncce27, ปี 27, น. TRL29-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์