การใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการจัดกลุ่มกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ชนบท – กรณีศึกษาบ้านป่าตาล จ.เชียงราย
คำสำคัญ:
กฎความสัมพันธ์, กิจกรรมการท่องเที่ยว, การเรียนรู้ของเครื่อง, โพสต์โควิด-19, บ้านป่าตาลบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นในการใช้เทคนิคกฎความสัมพันธ์ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง โดยความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปสร้าง ความสัมพันธ์ของกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นต้นแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน ต.บ้านป่าตาล เนื่องจากอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ข้อมูลที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์มาจากการสัมภาษณ์คนในชุมชนที่อยากจะเสนอแนะให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมใดบ้างในชุมชนของตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์กฎความสัมพันธ์คือ RapidMiner ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่คนในชุมชนมีการแนะนำมากที่สุด คือ กิจกรรมไหว้พระ และกิจกรรมปั่นจักรยานรอบหมู่บ้าน ส่วนกิจกรรมอื่นที่แนะนำรองลงมา ได้แก่ ล่องแพ ปลูก-เกี่ยวข้าว สปาก้อนหิน ตามลำดับ โดยผลที่ ได้จากการศึกษาสามารถนำไปสร้างการรับรู้ของคนในชุมชนให้วางแผนและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยสามารถแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็นสามกลุ่มตามความสนใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1) กลุ่มกิจกรรมวิถีชุมชนปศุสัตว์, 2) กลุ่มกิจกรรม สุขภาพบำบัด และ 3) กลุ่มกิจกรรมสายบุญไหว้พระ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์