Development of a Mixture of Lightweight Cell Crete with Hydraulic Cement for Green Roof Construction in Thailand
คำสำคัญ:
green roof, energy-saving roof, lightweight cell crete, green roof lightweight cell creteบทคัดย่อ
หลังคาเขียวในประเทศไทยถือว่ายังไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป เนื่องจากกระบวนการก่อสร้างมีความซับซ้อน การนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ และราคาสูงกว่า หลังคาทั่วไป หลังคาเขียวถือเป็นทางเลือกใหม่ของการ ช่วยลดพลังงานไฟฟ้า , ลดเสียงรบกวน , ลดมลพิษทางอากาศ และสร้างระบบนิเวศให้สังคมเมือง เป็นต้น ผู้วิจัยได้นำคอนกรีตเบาเซลล์กรีต มาใช้เป็นวัสดุโครงสร้างประกอบ รองรับน้ำหนักดินที่ใช้สำหรับการปลูกพืช เนื่องจากคุณสมบัติของคอนกรีตเบาเซลล์กรีตมีความแข็งแรง กันร้อน กันน้ำ กันเสียง และมีน้ำหนักเบา ทำให้ราคาค่าก่อสร้างลดลง จากผลการพัฒนาสัดส่วนผสมใหม่ของคอนกรีตเบาเซลล์กรีต โดยการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มาแทน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง ใช้หน่วยน้ำหนัก 1200 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พบว่าค่ากำลังอัดคอนกรีตเบาเซลล์กรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีค่าสูงกว่า , การดูดซึมน้ำและค่าสัมประสิทธิ์ในการนำความร้อนมีค่าที่ต่ำกว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง และผู้วิจัยได้นำไปทดสอบการใช้งานจริงพบว่า สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสังคมเมือง ราคาค่าก่อสร้างและอุณภูมิภายในอาคารลดลง เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมหลังคาเขียวในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์