การศึกษาคุณสมบัติค่าการต้านทานการขัดถูของวัสดุมวลรวมจากแหล่งวัสดุมวลรวมที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต

ผู้แต่ง

  • บำรุง บัวชื่น ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
  • วรรณิกำ ขันคำนันต๊ะ
  • ขวัญชัย เทศฉาย

คำสำคัญ:

การขัดถูของวัสดุมวลรวม, การทดสอบการต้านทานการลื่นไถล, ค่าต้านทานการขัดถู

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันยวดยานพาหนะในประเทศไทยกว่าร้อยละ 80 เดินทางบนโครงข่ายผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต ซึ่งการออกแบบการก่อสร้างถนนผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตเป็นขั้นตอนการออกแบบที่สำคัญเนื่องจากต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งปริมาณการจราจร น้ำหนักบรรทุก อายุการใช้งาน ฯลฯ ดังนั้นการพิจารณาคัดเลือกวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องถูกพิจารณาเป็นลำดับแรกผ่านการทดสอบคุณสมบัติให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานและเสื่อมสภาพของอายุผิวทาง การทดสอบหาค่าการขัดถูของวัสดุมวลรวม (Polishing Stone Value, PSV) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินค่าการสึกหรอจากการขัดถูของวัสดุมวลรวมที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวทาง ตามมาตรฐาน ASTM E303 และ BS812-114 โดยการทดสอบดังกล่าวเริ่มจากการคัดเลือกวัสดุมวลรวมจากแหล่งต่างๆ มาเรียงใส่แบบ จากนั้นนำไปใส่เครื่องมือสดทอบ Accelerated Polishing Machine แล้วเริ่มทำการทดสอบโดยวัสดุมวลรวมจะถูกขัดถูด้วยล้อยางร่วมกับวัสดุขัดถูหยาบและวัสดุขัดถูละเอียด จากนั้นเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดนำไปทดสอบด้วยเครื่องมือวัดค่าความต้านทานการลื่นไถล British Pendulum Tester ซึ่งค่าที่อ่านได้จะเป็นค่า PSV สำหรับงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกวัสดุมวลรวมในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 10 แหล่ง โดยวัสดุมวลรวมที่เลือกใช้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หินปูน หินบะซอลต์ และหินแกรนิต ขนาดของวัสดุมวลรวมที่ใช้ในการทดสอบคือ ขนาด 3/8” จากผลการทดสอบพบว่าหินบะซอลต์มีค่าความต้านทานต่อการขัดถูมากที่สุด รองลงมาคือหินแกรนิต และหินปูน ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
บัวชื่น บ., ขันคำนันต๊ะ ว. ., และ เทศฉาย ข. ., “การศึกษาคุณสมบัติค่าการต้านทานการขัดถูของวัสดุมวลรวมจากแหล่งวัสดุมวลรวมที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต”, ncce27, ปี 27, น. MAT46–1, ก.ย. 2022.