การประเมินระดับความแล้งทางอุทกวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ำอูน โดยใช้ค่าดัชนีความแล้งของน้ำท่า
บทคัดย่อ
ภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ปริมาณน้ำท่าที่ใช้การได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำ มีค่าแสดงแนวโน้มที่ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานและกระทบต่อการจัดการทรัพยากรน้ำของอ่างเก็บน้ำ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้มุ่งหมายเป้าถึงการเกิดภัยแล้งทางอุทกวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำท่าโดยใช้ดัชนีความแล้งของน้ำท่า (Streamflow Drought Index, SDI) ของอ่างเก็บน้ำลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ค่า SDI ใช้การพิจารณาคำนวณตามช่วงคาบ 3, 6, และ 9 เดือน โดยเปรียบเทียบพื้นที่ต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำและพื้นที่ปลายน้ำของอ่างเก็บน้ำกับการควบคุมการจัดสรรน้ำ ผลการวิเคราะห์ความแห้งแล้งทางอุทกวิทยาโดยใช้ SDI ในทั้งสองพื้นที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ที่สถานีตรวจวัดที่อ่างเก็บน้ำอูน และสถานีวัดน้ำท่า KH108, KH54 จำนวนเดือนของปรากฏการณ์ภัยแล้งสูง ณ สถานีวัดน้ำท่า KH108 อยู่ระหว่าง 55.32% -65.91% ของช่วงคาบ 6 เดือน ค่า SDI ส่วนใหญ่แสดงเป็นภัยแล้งไม่รุนแรง อยู่ระหว่าง 41.49%-53.41 % นอกจากนี้ SDI ที่บริเวณกลางลุ่มน้ำมีโอกาสเกิดภัยแล้งมากกว่าพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ จากการจัดการอ่างเก็บน้ำ วิธีการและผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้คาดว่าจะใช้เป็นข้อมูลสถิติสำหรับการตัดสินใจในการวางแผนบรรเทาภัยแล้งในช่วงระยะเวลาที่เกิดซ้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์