การปรับเทียบแบบจำลองอุทกวิทยา HEC-HMS โดยใช้ข้อมูลความชื้นดินจากดาวเทียม SMAP ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ
คำสำคัญ:
น้ำท่า, การจำลองทางอุทกวิทยา, ความชื้นในดิน, ข้อมูลดาวเทียมบทคัดย่อ
ความนี้นำเสนอการใช้ข้อมูลความชื้นดินจากดาวเทียม SMAP สำหรับกำหนดพารามิเตอร์ของแบบจำลองอุทกวิทยา HEC-HMS ในลุ่มน้ำที่มีข้อมูลการตรวจวัดน้ำท่าจำกัด โดยเลือกลุ่มน้ำลำปลายมาศเป็นพื้นที่ศึกษา ลำปลายมาศเป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำมูล พื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ มีขนาดประมาณ 4,900 ตร.กม. การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลความชื้นดินของดาวเทียม SMAP ตั้งแต่เริ่มให้บริการข้อมูล (พ.ศ.2558) และข้อมูลตรวจวัดน้ำท่ารายวัน (สถานี M.185) ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560 การจัดทำแบบจำลองแบบต่อเนื่องเลือกกระบวนวิธี Soil Moisture Accounting (SMA) ของ HEC-HMS การกำหนดค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองได้พิจารณาสมบัติทางกายภาพและทางชลศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพดินและการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นค่าเริ่มต้น และปรับพารามิเตอร์โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดินของ HEC-HMS กับข้อมูลจากดาวเทียม SMAP จนสอดคล้องกัน พารามิเตอร์ของแบบจำลองที่พิจารณา ประกอบด้วย อัตราการซึมผ่านผิวดิน ปริมาณน้ำขังบนผิวดิน และปริมาณน้ำในดิน สมรรถนะของแบบจำลองเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลน้ำท่าตรวจวัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การใช้ข้อมูลความชื้นดินจากดาวเทียมสามารถนำไปใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองอุทกวิทยาในลุ่มน้ำที่ไม่มีการตรวจวัดน้ำท่า
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์