ตัวแบบเชิงคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักของสัญญา PPP Availability-based O&M ของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองของประเทศไทย

  • นันทพัฒน์ ปิ่นตบแต่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นคร กกแก้ว
คำสำคัญ: ตัวแบบเชิงคำนวณ, โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน, สัญญาจ้างดำเนินงานและบำรุงดูแลรักษา, ค่าตอบแทน, ความพร้อมใช้, ผู้มีส่วนได้เสีย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันรัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐในรูปแบบของการจ้างดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ
(PPP O&M) ซึ่งรัฐเจ้าของโครงการรับผิดชอบในการลงทุนในการการก่อสร้างงานโยธา ส่วนเอกชนรับผิดชอบในการลงทุนในงาน
ระบบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ ตัวอย่างโครงการที่ใช้รูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP O&M ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 บางปะอิน – นครราชสีมา เป็นต้น สัญญา PPP O&M รายได้จากการเก็บค่า ผ่านทางจะเป็นของรัฐทั้งหมด โดยรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการจะจ่ายผลตอบแทนให้กับภาคเอกชนในลักษณะอัตราเหมาจ่าย ซึ่งรวมเงินลงทุนสำหรับงานระบบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญา ซึ่งเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนที่เรียกว่า PPP Gross Cost ความเสี่ยงของสัญญา PPP O&M ในรูปแบบ PPP Gross Cost นั้น รัฐเจ้าของโครงการยังต้องแบกรับความเสี่ยงด้าน การตลาด (Market risk) เช่น สภาพเศรษฐกิจของประเทศ และปริมาณจราจร เป็นต้น ส่วนเอกชนคู่สัญญารับความเสี่ยงด้านการต้นทุนในการลงทุนงานระบบ และต้นทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษาให้อยู่ในระดับที่ระบุในสัญญา (Operational risk) โดยสัญญา PPP O&M จะนำกลไกการจ่ายค่าตอบแทน (Payment mechanism) ที่เรียกว่า “Availability payment (AP)” โดย APเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามสภาพความพร้อมใช้และคุณภาพของการให้บริการ (Performance-based) โดยค่าตอบแทนนี้อาจแบ่งการจ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส และค่าตอบแทนในแต่ละงวดอาจมีการปรับลด (Deduction) ในกรณีที่ผู้ให้บริการ (Privateoperator) ไม่สามารถรักษาสภาพความพร้อมใช้ได้และคุณภาพของการให้บริการได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาได้ งานวิจัยนี้จึงต้องการเสนอตัวแบบเชิงคำนวณเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักของสัญญา PPP Availability-based O&Mของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองของประเทศไทย โดยผู้มีส่วนได้เสียหลักที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย (1) หน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการ (2) เอกชนผู้ให้บริการ และ (3) สถาบันการเงินผู้ให้เงินกู้กับภาคเอกชน โดยตัวแบบเชิงคำนวณที่งานวิจัยนี้นำเสนอไปนั้น จะสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในโครงการ และเป็นแนวทางในการพัฒนาสัญญารูปแบบ PPP O&M นี้ต่อไปในอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
สาขาของบทความ
วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้