การประเมินความปลอดภัยทางถนนด้วยระดับดาวของ iRAP กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  • อนุพันธ์ จิตอารี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อภิชา ท้าวหมื่น สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ประทานพร ประทุมแสง สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ซอฟะ วาจิ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • วราภรณ์ อินมอญ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อรุณโรจน์ ไพสิฐเบญจพล สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ทศพร อารีราษฏร์ Business Economics and Logistics Research Excellence Center สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าลวง จ.เชียงราย
คำสำคัญ: iRAP, คนเดินเท้า, ความปลอดภัยทางถนน, เชียงราย, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บ และเสียชีวิตในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการใช้ทางสูงคือนักเรียนนักศึกษาถือว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้ทางที่มีความเปราะบาง มีการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการสัญจรในเขตมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ จากการศึกษาข้อมูลของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวนสถิติอุบัติเหตุรวม 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563-2565 ในเขตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด มีอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานล้มเองสูงถึง 50.00% แสดงให้เห็นว่าถนน และทางเท้าภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นพื้นที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการเดินทาง ปัญหานี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เนื่องจากในแต่ละวันนักศึกษาจะต้องใช้ถนนและทางเท้าภายในมหาวิทยาลัยเพื่อการเดินทาง งานวิจัยชิ้นนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการประเมินระดับความปลอดภัยทางถนนด้วยระดับดาวหรือ International Road Assessment Program(iRAP) Star Rating เพื่อประเมินความปลอดภัยของถนนภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการประเมินสำหรับถนนหลักและถนนรองภายในบริเวณมหาวิทยาลัย จากผลการศึกษาพบว่ามีบางบริเวณที่ยังมีระดับคะแนนดาวอยู่ที่ 1-2 ดาว ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นในระดับ3 ดาวจากทั้งหมด 5 ดาว โดยปัจจัยที่มีผลต่อระดับความปลอดภัยก็มีความแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ และงานวิจัยชิ้นนี้ได้ยกตัวอย่างข้อเสนอแนะที่หน่วยงานภายในสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนนในบริเวณสถานศึกษาต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

ทศพร อารีราษฏร์, Business Economics and Logistics Research Excellence Center สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าลวง จ.เชียงราย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

https://orcid.org/0000-0002-7945-8270
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์