การศึกษาผลกระทบของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดต่อการเป็นวัสดุบ่มภายในของคอนกรีตชนิดไหลอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง

ผู้แต่ง

  • ศิวกร จิตร์ถาวรมณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วิชชา สิงหวรรณุรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วิชนาถ พึ่งมั่น ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปัทมวรรณ บุญญา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พิชชา จองวิวัฒสกุล
  • ภัทรพล จินดาศิริพันธ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบ่มภายใน, การรักษารอยร้าวด้วยตัวเอง, คอนกรีตสมรรถนะสูง, เถ้าก้นเตา, พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดในคอนกรีตชนิดไหลอัดแน่นได้ด้วยตัวเองที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าก้นเตาบดละเอียดร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน โดยในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดขนาดอนุภาค 300-800 ไมครอน และมีความสามารถในการดูดซับน้ำได้สูงสุด เท่ากับ 220 เท่าเทียบกับน้ำหนักของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด มาใช้เป็นวัสดุบ่มภายใน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การศึกษา 3 หัวข้อ ได้แก่ วิธีการผสมปริมาณในการผสม และการดูดซับสารละลายแทนที่น้ำของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด ทำการทดสอบกำลังอัดและการรักษารอยร้าวด้วยตัวเองของมอร์ต้าร์และคอนกรีตที่มีการผสมพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด จากการศึกษาพบว่ากำลังอัดของมอร์ต้าร์ที่มีการผสมพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดมีค่าต่ำลงเมื่อมีปริมาณของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อมีการดูดซับสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์แทนที่การดูดซับน้ำของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดให้ผลที่ดีขึ้นในด้านกำลังอัด นอกจากนี้พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดสามารถรักษารอยร้าวขนาดเล็กได้สูงถึงร้อยละ 97 ภายใน 8 วัน และสามารถรักษารอยร้าวได้สมบูรณ์ภายใน 28 วัน ภายใต้เงื่อนไขการแช่น้ำอย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดรอยร้าว

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07