การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดิน และอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินจากเทคนิคอนุกรมเวลา InSAR
คำสำคัญ:
การทรุดตัวของแผ่นดิน, InSAR, แรงดันน้ำใต้ดินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเทคนิคอนุกรมเวลา InSAR (time series analysis) ในการหาค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดิน เพื่อติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสาคร โดยการใช้ค่าต่างเฟสของคลื่นไมโครเวฟ จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบเรดาร์ Sentinel-1 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2018 ถึงเดือนตุลาคม ปี 2021 ทั้งหมด 100 ภาพ ทำให้ได้จุดตรวจสอบที่มากกว่า 800,000 จุด ซึ่งมีความหนาแน่นและแสดงรูปแบบการทรุดตัวของพื้นที่ศึกษาในระดับกว้างได้ดี ทำให้ได้ค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินอยู่ในช่วงประมาณ -33.13 ถึง +32.79 มิลลิเมตรต่อปี จากข้อมูลแรงดันน้ำใต้ดินของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม และสถานีบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร ภายในรัศมี 200 เมตร ค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินอยู่ในช่วงประมาณ -4.81 ถึง +0.27 มิลลิเมตรต่อปี และ -16.11 ถึง -3.27 มิลลิเมตรต่อปีตามลำดับ ข้อมูลแรงดันน้ำใต้ดินตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2019 ถึงเดือนกันยายน 2021 ของทั้ง 2 สถานี มีอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดินภาพรวมลดลงโดยมีค่าประมาณ 2.5 ถึง 8.4 kPa ต่อปี และ 1.8 ถึง 18.6 kPa ต่อปีตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดินกับค่าการทรุดตัวของแผ่นดินจากเทคนิค InSAR นั้น พบว่ามีความสอดคล้องกัน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์