การสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม กรณีศึกษา : การคำนวณการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำในพื้นที่

ผู้แต่ง

  • ทิพาภร หอมดี
  • วชิรกรณ์ เสนาวัง มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วราเดช แสงบุญ

คำสำคัญ:

น้ำบาดาล, การซึมผ่านผิวดิน, การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยที่เป็นส่วนย่อยจากงานวิจัยหลักโครงการการสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม โดยมุ่งเน้นเฉพาะการศึกษาการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ (Recharge) เพื่อหาความสามารถในการเก็บกักน้ำชั้นใต้ดินในการสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 0.31 ตารางเมตร การทดสอบอัตราการซึมผ่านผิวดิน ด้วยวิธีการทดสอบแบบ double ring test โดยใช้สมการของ Horton (Horton, 1841) พบว่า มีอัตราการซึมผ่านผิวดินเริ่มต้น ประมาณที่ 0.76 มิลลิเมตรต่อวันและค่าสูงสุดอยู่ที่ 250.38 มิลลิเมตรต่อวันและเมื่อได้ค่าอัตราการซึมผ่านผิวดิน จึงนำมาคำนวณหาการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ (Recharge) โดยตั้งสมการในพื้นที่ 1.การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำจากฝน 2.การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำจากป่าไม้และเกษตรกรรม 3.การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำจะการท่วมขังของน้ำ พบว่าการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ (Recharge) มีค่าต่ำ สุด 0.7 มิลลิเมตร และค่าสูงสุด 242.7 มิลลิเมตร และค่าเฉลี่ยการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำอยู่ที่ 45.125 มิลลิเมตร

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
หอมดี ท., เสนาวัง ว., และ แสงบุญ ว., “การสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม กรณีศึกษา : การคำนวณการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำในพื้นที่”, ncce27, ปี 27, น. WRE27–1, ก.ย. 2022.