การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเชิงพารามิเตอร์เพื่อการถอดปริมาณวัสดุผนังอิฐก่อ

ผู้แต่ง

  • เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธนิต ธงทอง

คำสำคัญ:

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, การออกแบบเชิงพารามิเตอร์, ผนังอิฐก่อ

บทคัดย่อ

อิฐก่อเป็นวัสดุที่นิยมในการก่อผนัง ในการถอดปริมาณมักจะใช้การประมาณวัสดุเป็นอัตราส่วนจากพื้นที่ผนัง ซึ่งไม่มีรูปแบบที่มีรายละเอียดข้อมูล ชิ้นส่วนที่ละเอียดเพียงพอ ส่งผลให้การถอดปริมาณมีความผิดพลาดเนื่องจากมีลักษณะและจำนวนช่องเปิดแตกต่างกันในแต่ละผนังส่งผลให้การก่อสร้างที่ ได้อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ระยะทาบหรือลักษณะการก่อมีระยะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เกิดขยะจากการทิ้งชิ้นส่วนอิฐที่เหลือจากการตัด ทั้งที่ สามารถนำไปใช้ต่อในส่วนอื่นได้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการก่อสร้างทั้งด้านเวลาและงบประมาณ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการใช้งาน แบบจำลองสารสนเทศอาคารโดยใช้การออกแบบเชิงพารามิเตอร์ เพื่อถอดปริมาณและสร้างข้อมูลรายละเอียดการก่อชิ้นส่วนอิฐในผนังอิฐก่อ โดยงานวิจัย ใช้โปรแกรม Dynamo ผ่านโปรแกรม Autodesk Revit ในการสร้างชุดคำสั่งเพื่อคำนวณตำแหน่ง ความยาว และปริมาณของชิ้นอิฐก่อ ผลการทดสอบ ระบบพบว่าใช้เวลาในการถอดปริมาณน้อยและสามารถให้แสดงผลในรูปแบบสามมิติได้ ซึ่งช่วยเสริมในการมองเห็นรายละเอียดตำแหน่งและความยาวของ อิฐก่อได้สามารถข้อมูลของอิฐแต่ละชิ้นไปคำนวณสร้างรายการตัดอิฐเพื่อนำไปวางแผนการก่อสร้างต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

การประยุกต์ใช้ BIM สำหรับงานวิศวกรรมโยธา