การทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดของลำไม้ไผ่เพื่อจำแนกชั้นคุณภาพทางโครงสร้างของไม้ไผ่ซางหม่น

ผู้แต่ง

  • ภาณุมาศ ตั้งผดุงรัชต์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชยานนท์ หรรษภิญโญ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชินพัฒน์ บัวชาติ
  • ปิยะพงษ์ วงค์เมธา
  • พรรณนิภา เชาวนะ

คำสำคัญ:

กำลังต้านทานแรงอัดของลำไม้ไผ่, ดัชนีบ่งชี้คุณสมบัติ, คุณสมบัติที่กำหนดชั้นคุณภาพ, ความหนาแน่น, มวลเชิงเส้น

บทคัดย่อ

ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่องานก่อสร้างอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนทางด้านความสามารถในการรับน้ำหนักของไม้ไผ่ทำให้วิศวกรไม่สามารถกำหนดใช้ค่ามาตรฐานเพื่อการออกแบบโครงสร้างได้อย่างปลอดภัยเหมาะสม งานศึกษานี้ได้ทำการศึกษาเพื่อจำแนกชั้นคุณภาพทางโครงสร้างของไม้ไผ่ซางหม่นในการรับแรงอัดตามแนวแกน เพื่อนำมาหาดัชนีบ่งชี้คุณสมบัติ (Indicating Properties) ที่มีความสัมพันธ์จากตัวแปรผลทดสอบไม่ทำลายอาทิเช่น เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก ความหนาของผนังลำไม้ไผ่ความสมบูรณ์ของหน้าตัดตามขวาง ความหนาแน่น และมวลเชิงเส้น จากการทดสอบโดยใช้วิธีทางสถิติพบว่า ความหนาแน่นและมวลเชิงเส้น เป็นดัชนีบ่งชี้คุณสมบัติที่ดี สำหรับกำลังรับหน่วยแรงอัด (Compressionstress) และกำลังรับแรงอัดสูงสุด (Ultimate load) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.54 – 0.62 และ 0.88 – 0.89 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้ทำให้เมื่อสามารถทราบค่าความหนาแน่นและมวลเชิงเส้นของไม้ไผ่ซึ่งทดสอบหาค่าได้ง่ายจะสามารถทราบค่ากำลังอัดของไม้ไผ่ที่วิศวกรสามารถนำไปใช้ในการออกแบบโครงสร้างต่อไปได

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
ตั้งผดุงรัชต์ ภ., หรรษภิญโญ ช. ., บัวชาติ ช. ., วงค์เมธา ป. ., และ เชาวนะ พ. ., “การทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดของลำไม้ไผ่เพื่อจำแนกชั้นคุณภาพทางโครงสร้างของไม้ไผ่ซางหม่น”, ncce27, ปี 27, น. STR44–1, ก.ย. 2022.