การเปรียบเทียบแรงลมโดยรวมของอาคารสูงโดยวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลองกับวิธีการรวบรวมผลของแรงดัน

ผู้แต่ง

  • วศิน แท่งทอง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิโรจน์ บุญญภิญโญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • จิรวัฒน์ จันทร์เรือง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

คำสำคัญ:

วิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลองที่มีความถี่สูง, วิธีการรวบรวมผลของแรงดัน, การทดสอบแบบจำลองในอุโมงค์ลม, การวิเคราะห์แรงลม, ผลของแรงลมต่ออาคารสูง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของแรงลมโดยรวมที่กระทำกับอาคารสูง โดยการทดสอบแบบจำลองในอุโมงค์ลมด้วยวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลอง (High Frequency Force Balance, HFFB) และวิธีการวัดความดัน ร่วมกับการใช้เทคนิคการรวมผลของความดันที่เรียกว่า วิธีการรวบรวมผลของแรงดัน(High Frequency Pressure Integration, HFPI) การศึกษาจะนำเสนอผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบในรูปของค่าสัมประสิทธิ์แรงลมไร้หน่วย โมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐาน และแรงลมสถิตเทียบเท่า โดยจะทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยโมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของแบบจำลองกับการวิเคราะห์ด้วยแรงลมเชิงโหมด (Generalized Wind Force) ผลการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์โดยใช้โมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของแบบจำลองสำหรับการทดสอบทั้งสองวิธีมีค่าที่ใกล้เคียงกัน แต่สำหรับวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลองที่วิเคราะห์ด้วยโมเมนต์ที่ฐานของแบบจำลองกลับให้ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าการวิเคราะห์ด้วยแรงลมเชิงโหมด ซึ่งต่างกับวิธีการรวบรวมผลของแรงดันที่ไม่ว่าจะใช้การวิเคราะห์ด้วยโมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของแบบจำลองหรือแรงลมเชิงโหมดก็ให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
แท่งทอง ว., บุญญภิญโญ ว., และ จันทร์เรือง จ., “การเปรียบเทียบแรงลมโดยรวมของอาคารสูงโดยวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลองกับวิธีการรวบรวมผลของแรงดัน”, ncce27, ปี 27, น. STR45–1, ก.ย. 2022.