การพัฒนาเดฟิซิตฟังก์ชันสำหรับระบบขนส่งสาธารณะแบบโมดูล

  • เทวิษฎ์ ขันติอยู่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงยศ กิจธรรมเกษตร
คำสำคัญ: จุดเปลี่ยนถ่ายโมดูล, ฟังก์ชันเดฟิซิต, ระบบขนส่งสาธารณะไร้คนขับแบบโมดูล

บทคัดย่อ

การพัฒนาของเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะยกระดับคุณภาพชีวิต เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับผนวกกับการสื่อสารที่รวดเร็วถูกนำมาพัฒนาระบบ ขนส่งสาธารณะไร้คนขับแบบโมดูล (Autonomous Modular Public Transit; AMPT) ที่มีความยืดหยุ่นในการให้บริการ ทั้งทางด้านการดำเนินงาน (Operation) และความจุ ทำให้มีความซับซ้อนในการหาจำนวนยานพาหนะขั้นต่ำที่ต้องใช้ในการให้บริการ (Minimum Fleet Size, MFS) ของระบบ AMPT ในงานวิจัยนี้ได้เลือกเดฟิซิตฟังก์ชัน (Deficit Function) ที่อยู่ในรูปแบบกราฟฟิก มีพื้นฐานจากปัญหาการเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimization Problem) ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาจำนวนโมดูลในการให้บริการขนส่งสาธารณะ แต่เดฟิซิตฟังก์ชันแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถนำไปใช้กับ AMPT ได้ในงานศึกษานี้จึงเสนอเดฟิซิตฟังก์ชันที่ถูกพัฒนา (Developed Deficit Function) ซึ่งต่อยอดมาจากเดฟิซิตฟังก์ชันแบบขยาย(Extended Deficit
function) ให้สามาถใช้กับ AMPT ที่มีลักษณะการให้บริการที่สามารถสับเปลี่ยนโมดูลระหว่างการให้บริการได้ซึ่งจะเพิ่ม/ลดความจุให้สอดคล้องกับความต้องการการเดินทางในแต่ละช่วงเวลา จากกรณีศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าเดฟิซิตฟังก์ชันที่ถูกพัฒนาสามารถนำไปใช้กับ AMPT และยังสามารถลดจำนวนยานพาหนะที่ใช้ในการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เป็นรูปแบบของ AMPT ในกรณีที่สามารถสับเปลี่ยนโมดูลระหว่างการให้บริการได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์