การศึกษาแนวทางการปรับปรุงสมบัติความเป็นวัสดุประสานของตะกอนประปาและขี้เถ้าจากเตาเผาขยะด้วยปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชั่น และการอบไอน้ำ

ผู้แต่ง

  • ทรงสุดา วิจารณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

ตะกอนประปา, ขี้เถ้าเตาเผาขยะ, จีโอพอลิเมอร์, การอบไอน้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้ศึกษาความเหมาะสมในการใช้ตะกอนประปาและขี้เถ้าเตาเผาขยะมาเป็นวัสดุประสานแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนในปริมาณร้อยละ 10 และ 20 โดยน้ำหนัก ปฏิกิริยาปอซโซลานระหว่างตะกอนประปาและขี้เถ้าเตาเผาขยะเกิดได้ไม่ดีที่เท่าที่ควรที่ระยะเวลาบ่ม 28 วัน ในสภาวะการบ่มแบบปกติตะกอนประปา ขี้เถ้า และส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดซึ่งมีสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกต นำมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตจีโอพอลิเมอร์เมื่อทำปฏิกิริยากับสารละลายอัลคาไลน์ที่เกิดจากสารละลายโซเดียมซิลิเกตเข้มข้น 10 M กับ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 15 M ขี้เถ้าเตาเผาขยะมีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชันมากกว่าตะกอนประปา เนื่องจากมีความเป็นอสัณฐาน นอกจากนี้การอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 210 °C ความดัน 2 MPa เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง สามารถทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์ที่เตรียมจากปูนซีเมนต์ผสมขี้เถ้าเตาเผาขยะอบไอน้ำถึงเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 75 ของค่ากำลังรับแรงอัดมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์ล้วนตั้งแต่อายุบ่ม 7 วันได้ ในขณะที่การอบไอน้ำไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการปรับปรุงสมบัติความเป็นวัสดุประสานของตะกอนประปาได

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
วิจารณ์ ท., “การศึกษาแนวทางการปรับปรุงสมบัติความเป็นวัสดุประสานของตะกอนประปาและขี้เถ้าจากเตาเผาขยะด้วยปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชั่น และการอบไอน้ำ”, ncce27, ปี 27, น. MAT35–1, ก.ย. 2022.