การพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • แพรวา วิจิตรธนสาร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุเผ่า อบแพทย์

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ, การพัฒนา, แผนที่ความเสี่ยง

บทคัดย่อ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยส่งผลกระทบและทำให้เกิดความสูญเสียในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดการภัยพิบัติในแต่ละ รูปแบบ โดยงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นไปยังขั้นตอนการเตรียมตัว (Preparedness) โดยการใช้ความรู้และข้อมูลทางด้านวิศวกรรมสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ รวมไป ถึงการประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process, AHP) เพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขึ้น วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยในครั้งนี้คือการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทย ได้แก่ อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า และพายุหมุน เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างระบบแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านแผนที่ความเสี่ยงในระดับภูมิภาค โดยได้ทำการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ความ เสี่ยงภัยพิบัติจากการศึกษาองค์ประกอบของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการคัดเลือกปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติและให้ค่าน้ำหนักของข้อมูลตามหลักการ วิเคราะห์ความเสี่ยงภัยพิบัติแต่ละประเภท ในการจัดเตรียมข้อมูลจะใช้การจำแนกใหม่ (Reclassify) จัดการข้อมูลประเภทต่อเนื่อง (Continuous Data) ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลหลายประเภทมาวิเคราะห์ด้วยกันได้ แล้ววิเคราะห์หาความเสี่ยงของภัย พิบัติด้วยวิธีAHP แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้มาทำการตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบโอเวอร์เลย์ (overlay) กับข้อมูลประวัติการเกิดภัยพิบัติ ในปี 2563 โดยทำการตรวจสอบบริเวณพื้นที่ที่แสดงค่าความเสี่ยงระดับอันตรายขึ้นไป หลังจากการตรวจสอบแล้วพบว่าการเกิดภัยพิบัติอุทกภัยมีความ ถูกต้องอยู่ที่ประมาณ 44.31% ภัยพิบัติดินโคลนถล่ม 68.00% ภัยพิบัติไฟป่า 54.73% และภัยพิบัติพายุหมุน 75.60%

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์