แผนภูมิปฏิสัมพันธ์แรงดัดและแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมรอยร้าว ของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นเพิ่มเติม

  • ดำริห์ อร่ามศรีประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • รักติพงษ์ สหมิตรมงคล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เกณฑกานต์ งามสอน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: ความกว้างรอยร้าว, คอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก, กำลังรับแรงดึงคงเหลือ, ตัวควบคุมความปลอดภัย, แผนภูมิปฏิสัมพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมกำลังรับแรงดึงคงเหลือและกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้น โดยทำการทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 14651 และทำการศึกษาความกว้างรอยร้าวเนื่องจากแรงดัดแบบทางเดียวของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นและทำการคำนวณความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการคำนวณความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐาน EUROCODE 2 ที่พัฒนาต่อโดยLöfgren เพื่อพัฒนาชุดคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์กำลังรับแรงดัดที่กระทำร่วมกับแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมความปลอดภัยโดยใช้ความกว้างรอยร้าวเป็นตัวควบคุม จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณเหล็กเส้น ความหนาของหน้าตัดคอนกรีต และปริมาณเส้นใยเหล็กล้วนส่งผลต่อความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยการใส่เหล็กเส้นเข้าไปในหน้าตัดคอนกรีตส่งผลให้ความกว้างรอยร้าวเนื่องจากแรงดัดลดลง ในขณะที่การเพิ่มความหนาของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กส่งผลให้หน้าตัดสามารถรับกำลังรับแรงดัดแตกร้าวได้สูงขึ้น จากงานวิจัยยังพบอีกว่าหน้าตัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่เสริมเหล็กเส้นจะสามารถรับกำลังรับแรงดัดได้ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของกำลังรับแรงดัดสูงสุดที่หน้าตัดคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่เสริมเหล็กเส้นรับได้ในกรณีที่ใช้ความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐานของ EUROCODE 2 เป็นตัวควบคุมความปลอดภัย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
How to Cite
[1]
อร่ามศรีประเสริฐด., สหมิตรมงคลร., และ งามสอนเ., “แผนภูมิปฏิสัมพันธ์แรงดัดและแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมรอยร้าว ของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นเพิ่มเติม”, ncce27, ปี 27, น. STR36-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้