การหาแบบจำลองปรับแก้ค่าพิกัดทางราบใช้สำหรับเทคนิคการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง จีเอ็นเอสเอสในกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2014 ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
กรอบพิกัดอ้างอิงสากล, เทคนิคจุดเดี่ยวความละเอียดสูง, การประมาณค่า, แบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดบทคัดย่อ
การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกส่งผลกระทบโดยตรงต่อการระบุตำแหน่งด้วยค่าพิกัดและการอ้างอิงตำแหน่งบนพื้นโลกของตำแหน่งเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปค่าพิกัดย่อมมีค่าที่แตกต่างกัน โดยองค์กรหรือหน่วยงานในระดับสากลได้ร่วมกันปรับปรุงระบบกรอบพิกัดอ้างอิงสากล (The International Terrestrial Reference Frame; ITRF) ให้สอดคล้องกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมากยิ่งขึ้นตลอดเวลา ในการสำรวจรังวัดด้วยเทคนิค Precise Point Positioning (PPP) และ Precise Point Positioning Real-Time Kinematic (PPP-RTK) จะอ้างอิงบนกรอบพิกัดอ้างอิงสากลนี้ในการระบุตำแหน่งต่างๆ หากมีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกย่อมส่งผลต่อค่าพิกัดที่เปลี่ยนแปลงไปบนตำแหน่งพื้นผิวโลกด้วยซึ่งสะสมตามเวลา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบสำหรับ ITRF2014 ของประเทศไทยด้วยแบบจำลองค่าต่างพิกัดทางราบโดยใช้วิธีการประมาณค่าในช่วง (Interpolate) ด้วยวิธี Spline แล้วเปรียบเทียบความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบด้วยค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสองของสถานีตรวจสอบ ผลปรากฏว่าแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบให้ความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบที่ระดับความเชื่อมั่น 95% อยู่ที่ 0.033 เมตร ดังนั้นสามารถนำแบบจำลองมาใช้ในการปรับแก้ค่าพิกัดทางราบสำหรับ ITRF2014 ให้มีความถูกต้องอยู่ในระดับ 3 ซม.ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงค่าพิกัดระหว่างหน่วยงานให้สอดคล้องกันและสามารถใช้งานค่าพิกัดร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเทศไทยได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์