การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง-น่านและเจ้าพระยาเชิงกลยุทธ์

ผู้แต่ง

  • สนิท วงษา ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยงน้ำท่วม, ลุ่มน้ำปิง-น่านและเจ้าพระยา, แบบจำลอง Nays2DFlood, iRIC

บทคัดย่อ

ประเทศไทยน้ำท่วมหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุทกภัยขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ มักเกิดขึ้นทุกๆ รอบปีการเกิดซ้ำที่ 15 ถึง 20 ปี และมีแนวโน้มมีความถี่มากขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ทำให้ฤดูกาลและความเข้มฝนเกิดการแกว่งมากขึ้น น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมและบ้านเรือนประชาชน ส่วนในพื้นที่เมืองแม้แต่ฝนเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมรุนแรงในบางพื้นที่ของเมือง ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากกับระบบโครงสร้างพื้นฐานและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ผลผลิตทางการเกษตร ระบบการผลิตและระบบการจราจร Nays2DFlood เป็นแบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับวิเคราะห์การไหลของน้ำท่วมแบบ 2 มิติได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ ในการศึกษานี้ ได้ทำการวิเคราะห์ 2 สถานการณ์คือ (1) สภาพปัจจุบันและ (2) ปิดพื้นที่รับน้ำนองหรือแก้มลิง จากผลการศึกษาพบว่าผลการเปรียบเทียบขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมจากแบบจำลองใกล้เคียงกับพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม GISTDA มีบางพื้นที่เป็นการท่วมจากการเกิดฝนตกหนักที่ภาพถ่ายดาวเทียม GISTDA ส่วนการเปรียบเทียบความลึกน้ำท่วมจากแบบจำลองกับความลึกน้ำท่วมจากเหตุการณ์จริงในพื้นที่ พบว่าความลึกน้ำท่วมจากแบบจำลองใกล้เคียงกับความลึกที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่มีค่าความแตกต่างของค่าความลึกประมาณ 0.3 ถึง 1.5 เมตร สำหรับกรณีศึกษาปิดพื้นที่รับน้ำหรือแก้มลิงจะทำให้ระดับน้ำท่วมสูงกว่าสภาพปัจจุบันประมาณ 0.60 เมตร ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินพื้นที่ความเสี่ยงน้ำท่วม ใช้เป็นแนวทางกับวางแผนการปรับตัวสำหรับการบริหารจัดการน้ำและเกษตรกรรมในพื้นที่เพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง น่านและเจ้าพระยาได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19