การเปรียบเทียบการวิเคราะห์โครงสร้างกับการทดสอบโครงสร้างภายใต้การเคลื่อนที่ของผิวดิน
คำสำคัญ:
โต๊ะจำลองแผ่นดินไหว, การวิเคราะห์ประวัติเวลาเชิงเส้น, การทดสอบอาคารภายใต้แผ่นดินไหวบทคัดย่อ
บทความนี้วิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้างในระนาบ 4 ชั้นด้วยวิธีประวัติเวลาเชิงเส้น 2 หลักการคือ 1.หลักการความเร่ง และ 2.หลักการเคลื่อนที่ผลตอบสนองจากการวิเคราะห์โครงสร้างแสดงในรูปแบบของความเร่งแต่ละชั้น นอกจากนี้ยังทำการทดสอบแบบจำลองโครงสร้างด้วยโต๊ะจำลองแผ่นดินไหวพร้อมทั้งตรวจวัดความเร่งที่เกิดขึ้นจริงแต่ละชั้นเพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์โครงสร้างทั้ง 2 หลักการ การทดสอบทำโดยกำหนดการเคลื่อนที่ของฐานแบบจำลองแบบฮาร์โมนิก จำนวน 4 ความถี่ได้แก่ 1.0 Hz 2.0 Hz 3.0Hz และ 4.0 Hz การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์กับผลการทดสอบพบว่าผลการวิเคราะห์ประวัติเวลาของแบบจำลองโครงสร้างด้วยหลักการความเร่งมีค่าสูงกว่าวิธีการวิเคราะห์ด้วยหลักการการเคลื่อนที่และผลจากการทดสอบจำลองโครงสร้างด้วยโต๊ะจำลองแผ่นดินไหวอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความถี่ของการเคลื่อนที่ของฐานสูงขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์