การศึกษาอัตราส่วนผสมและทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุซีเมนต์สำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ

ผู้แต่ง

  • ชนม์วิชญ์ ธัญญะสุขวณิชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิทิต ปานสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ, ปูนซีเมนต์, คุณสมบัติเชิงกล

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน หนึ่งในความท้าทายของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็คือการลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนค่าวัสดุและต้นทุนค่าแรงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นนวัตกรรมทางเลือกในการลดต้นทุนในการก่อสร้างโดยรวมลง เนื่องจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยเพิ่มความเร็วในกระบวนการก่อสร้าง ส่งผลให้มีการลดการใช้ทรัพยากรบุคคลในกระบวนการ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณวัสดุที่อาจสูญเสียไปในกระบวนการก่อสร้าง เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการก่อสร้างแบบเดิม อย่างไรก็ตามจะต้องมีการใช้ส่วนผสมสำหรับวัสดุในการพิมพ์ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในการก่อสร้างและการลดต้นทุน บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการเสนอแนวทางการออกแบบส่วนผสมสำหรับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้ได้วัสดุที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม โดยการใช้วัสดุที่มีปูนซีเมนต์เป็นส่วนผสมพื้นฐานในการพิมพ์ โดยได้มีการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ดังกล่าวในสภาวะสด (Fresh state) และสภาวะแข็งตัว (Hardened state) อาทิการทดสอบการไหล การทดสอบระยะเวลาในการก่อตัว และการทดสอบความสามารถในการรับแรงอัด อีกทั้งได้นำเสนอแนวทางในการทดสอบวัสดุสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ธัญญะสุขวณิชย์ ช., ดวงวิไลลักษณ์ ท., & ปานสุข ว. (2021). การศึกษาอัตราส่วนผสมและทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุซีเมนต์สำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, STR-22. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/994