การคำนวณหาแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบสำหรับกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2005 ไปสู่ ITRF2008 ของประเทศไทย

  • กรกฎ บุตรวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทยาทิพย์ ทองตัน
  • เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
คำสำคัญ: กรอบพิกัดอ้างอิงสากล, การแปลงค่าพิกัด, พารามิเตอร์, การประมาณค่าในช่วง, แบบจำลองค่าเศษเหลือ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในระดับสากล ได้ทำการปรับปรุงกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF (The International Terrestrial Reference Frame) ให้สอดคล้องกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะกรมแผนที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่กำหนดโครงข่ายอ้างอิงของประเทศ (Zero Order Geodetic Network) ได้ประกาศใช้ค่าพิกัดบนกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2008 ที่ epoch2013.10 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นค่าพิกัดบนกรอบพิกัดอ้างอิงสากลที่ได้มีการปรับปรุงล่าสุดและใช้งานในปัจจุบัน บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบสำหรับกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2005 ไปสู่ ITRF2008 ของประเทศไทย ประกอบด้วย (1)พารามิเตอร์ของการแปลงค่าพิกัด (Transformation Parameters) ใช้วิธีการแปลงค่าพิกัดฉากสามมิติ (Cartesian Coordinate) ด้วยพารามิเตอร์ 7 ตัว (Helmert Transformation) และ (2)แบบจำลองค่าเศษเหลือ (Grid Residuals) ใช้วิธีการประมาณค่าในช่วง (Interpolation) 4 วิธี คือ IDW, Natural Neighbor, Kriging และ Spline แล้วประเมินค่าความถูกต้องทางราบด้วยค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (RMSE) ด้วยหมุดตรวจสอบจำนวน 100 หมุดที่กระจายตัวทั่วประเทศไทย ผลปรากฎว่าแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบที่สร้างด้วยวิธี IDW, Kriging, Natural Neighbor และ Spline ให้ค่าความถูกต้องทางราบอยู่ที่ 2.1, 2.2, 2.3 และ 2.4 ซม.ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนค่าพิกัดให้มีความถูกต้องกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกตามมาตรฐานสากล และเป็นการเชื่อมโยงค่าพิกัดของหน่วยงานในประเทศไทยให้สอดคล้องกัน อีกทั้งเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับกรอบพิกัดอ้างอิงสากลอื่นๆ ในอนาคตได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้