การสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์จาก ข้อมูลระบบนำทางด้วยดาวเทียม ด้วยวิธีแบบสถิตและแบบจลน์ โดยการประมาณค่าฟังก์ชันโพลิโนเมียล จากการสร้างกันชนหลายขนาด บนข้อมูลสถานีร่วมค่าความสูงออร์โทเมตริก
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการสำรวจรังวัดค่าความสูงออร์โทเมตริก (Orthometric Height) นอกเหนือการทำระดับด้วยกล้องระดับ ยังมีการใช้งานที่แพร่หลายของสมการค่าต่างระหว่างค่าความสูงยีออยด์จากแบบจำลองความสูงยีออยด์ และความสูงทรงรีที่ได้จากการรังวัดโดยระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS) ซึ่งมีความรวดเร็วสูงกว่า แต่อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวมีความคาดเคลื่อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการประมาณค่าผิวยีออยด์ รวมถึงค่าคาดเคลื่อนที่เกิดจากการรังวัดข้อมูลทางดิ่งของ GNSS ที่มีมากกว่าการรังวัดข้อมูลทางราบ อยู่ประมาณ 2-3 เท่า แม้จะใช้แบบจำลองยีออยด์ล่าสุด TGM2017 และแบบจำลองยีออยด์ลูกผสม (Hybrid Geoid Model) ในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล หากต้องการถ่ายระดับสำหรับบริเวณใดๆ ซึ่งมีเกณฑ์งานขั้นต่ำสุดที่ 12mm ซึ่งการรังวัดค่าความสูงด้วยวิธี GNSS ยังมีค่าความถูกต้องต่ำกว่าเกณฑ์งานดังกล่าวในระยะทางต่ำกว่า 5 กิโลเมตร ยิ่งไปกว่านั้นการเพิ่มระยะทางดังกล่าวนี้ ยังเป็นการเพิ่มช่วงค่าคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้อีกด้วย ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของข้อมูลในการใช้งานจริง จึงไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ในการศึกษานี้ จึงมุ่งเน้นในการสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์ที่พอดีที่สุด (Best Fit) ในพื้นที่ใดๆ เพื่อกำจัดค่าคลาดเคลื่อนขนาดใหญ่จากการประมาณค่าแบบจำลอง ให้ข้อมูลมีความถูกต้องทางดิ่งผ่านเกณฑ์งานระดับและให้สามารถควบคุมความถูกต้องทางดิ่งได้ดีขึ้น ด้วยการทดสอบการสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์จากการสร้างกันชน (Buffer) หลายขนาด โดยการประมาณค่าฟังก์ชันโพลิโนเมียล (Polynomial Interpolation)
คำสำคัญ: แบบจำลองความสูงยีออยด์, ค่าความสูงออร์โทเมตริก, ระบบนำทางด้วยดาวเทียม, การประมาณฟังก์ชันโพลิโนเมียล
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์