การวิเคราะห์อนุกรมเวลาของค่าความเค็มสำหรับการพยากรณ์เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการเตือนภัยล่วงหน้า: กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์อนุกรมเวลา, พารามิเตอร์ความเค็ม, การเตือนภัยล่วงหน้า, และลุ่มน้ำเจ้าพระยาบทคัดย่อ
แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความสำคัญต่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม ในปัจจุบันปัญหาค่าความเค็มในแม่น้ำมีค่าเกินมาตรฐานความเค็มน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาที่ต้องต่ำกว่า 0.25 กรัมต่อลิตร ที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานีของการประปานครหลวง ซึ่งเป็นสถานีสำคัญ ทำหน้าที่สูบน้ำดิบสำแลรับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อผลิตน้ำประปาส่งต่อให้สถานีสูบจ่ายน้ำประปาฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2563 ค่าความเค็มได้เกินมาตรฐานน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาหลายเดือนติดต่อกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำดิบของการประปานครหลวงร่วมกับการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนุกรมเวลาของตัวแปรความเค็มกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สำหรับการพยากรณ์เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการเตือนภัยล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูลความความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล ความความเค็มของสถานีอื่นๆของการประปานครหลวง ข้อมูลระดับน้ำของสถานีวัดน้ำของกรมชลประทาน ตลอดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ด้วยวิธี Multiple linear regression (MLR) และวิธี Multiple non-linear regression (MNLR) โดยหาความสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวในช่วงปี 2557-2563 (แบ่งข้อมูลช่วงเรียนรู้และทดสอบเป็น 80% และ 20% ของข้อมูลทั้งหมด) ซึ่งกรณีได้ผลที่ดีที่สุดคือวิธี MLR ในการพยากรณ์ความเค็มล่วงหน้า 24 ชั่วโมง (EI=0.7460) จากการศึกษานี้จะใช้เพื่อเป็นแนวทางการพยากรณ์เบื้องต้นสำหรับวิธีอื่นๆในการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการเตือนภัยความเค็มเพื่อสูบน้ำดิบของการประปานครหลวง ร่วมกับการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างของกรมชลประทานต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์