การศึกษาประสิทธิภาพต่อการระบายการจราจรกับลักษณะกายภาพของทางพิเศษในปัจจุบัน กรณีศึกษายกเลิกไม้กั้นช่องทางอัตโนมัติ ด่านฯ อาจณรงค์ ด่านฯ ท่าเรือ 1 และด่านฯ สาธุประดิษฐ์ 1

  • เบญจวรรณ องอาจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพต่อการระบายการจราจร,, กรณีศึกษายกเลิกไม้กั้นช่องทางอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

จากการศึกษาและเก็บข้อมูลช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (ETC) ณ ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอาจณรงค์ เพื่อหาจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการ ควบคู่กับการแก้ปัญหาจราจรสะสมหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ พบว่า ระยะเวลาในการให้บริการ (Service Time) ตั้งแต่ผู้ใช้บริการหยุดรถเพื่อทำการจ่ายค่าผ่านทางพิเศษจนกระทั่งออกจากด่านฯ มีระยะเวลาโดยเฉลี่ย 2 วินาทีต่อคัน โดยกำหนดจุดเริ่มต้น (Start) จากบริเวณหัวเกาะเป็นจุดสมมติจุดที่หนึ่งเพื่อทำการจ่ายค่าผ่านทางพิเศษจนสิ้นสุดเป็นจุดสมมติจุดที่สอง (End) ของการเก็บข้อมูล ค่าที่ได้นี้สามารถนำไปคำนวณหาปริมาณรถสูงสุด (Capacity) ที่วิ่งผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้ เพื่อหาความสามารถในการระบายรถสำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ซึ่งพบว่าระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษในรูปแบบเงินสด (MTC) ระบายรถได้ 360 คันต่อชั่วโมง ใกล้เคียงกับผลศึกษาในอดีตที่อยู่ในช่วง 300 - 450 คันต่อชั่วโมง และพบว่าระบบเก็บค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติ (ETC) 1 ช่องจราจร ระบายรถได้ 1,800 คันต่อชั่วโมง เมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับปริมาณจราจรที่ผ่านได้จริงในวันเก็บข้อมูลจำนวน 6 ชั่วโมง (6.00 - 12.00 น.) กรณียกเลิกไม้กั้นช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ เพื่อศึกษาความสามารถในการวิ่งผ่านของรถว่าเต็มประสิทธิภาพความจุของด่านหรือไม่ พบว่า ก่อนและหลังวันทดสอบ ณ ด่านฯ อาจณรงค์ มีปริมาณการระบายการจราจรเพิ่มขึ้น 1.42% ณ ด่านฯ สาธุประดิษฐ์ 1 มีปริมาณการระบายการจราจรเพิ่มขึ้น 2.16% ณ ด่านฯ ท่าเรือ 1
มีปริมาณการระบายการจราจรเพิ่มขึ้น 0.33% ทั้งนี้ ได้ทำการทดสอบรวม 3 วันทำการ พบว่า สามารถระบายการจราจรได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.3% อย่างไรก็ตาม จากผลการทดสอบยกไม้กั้นด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติทั้ง 3 ด่าน พบว่า ปริมาณจราจรในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบยกไม้กั้นสามารถช่วยระบายการจราจรได้ แต่ยังไม่เต็มกับความจุที่สูงสุดที่สามารถทำได้ เนื่องจากพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังคงชะลอขณะเข้าใช้ช่องทางเสมือนมีไม้กั้นและสภาพทางกายภาพของแต่ละด่านที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การทดสอบในครั้งนี้ยังได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพความแม่นยำของระบบการอ่านป้ายทะเบียนเพิ่มเติมเพื่อใช้เก็บข้อมูลกรณีมีรถขับผ่านโดยพลการอีกด้วย

คำสำคัญ: ประสิทธิภาพต่อการระบายการจราจร, กรณีศึกษายกเลิกไม้กั้นช่องทางอัตโนมัติ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

เบญจวรรณ องอาจ, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

นางสาวเบญจวรรณ องอาจ อายุ 30 ปี

ปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมโยธา  สาขาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

  • วิศวกรงานทาง  International Engineering Consultants Co.,Ltd  

  • วิศวกร 5 แผนกวิจัยและพัฒนาระบบจราจร กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน)
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์