การศึกษาระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) ด้วยรถโดยสารประจำทาง เพื่อสนับสนุนการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเดินทาง, ระบบนำส่งผู้โดยสาร, ระบบขนส่งสาธารณะบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางที่สบับสนุนการเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู้ระบบรถไฟฟ้า เพื่อทดสอบการให้บริการของระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) โดยเส้นทางของรถไฟฟ้าที่ทำการศึกษา คือเส้นทางรถไฟฟ้า (MRT) สายสีม่วง ช่วงสถานีเตาปูน – คลองบางไผ่ ขั้นตอนแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลทางกายภาพ ได้แก่ ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรและระบบขนส่งมวลชนต่างๆ โดยรอบเส้นทางรถไฟฟ้า ขั้นตอนต่อมาเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารด้วยระบบรถไฟฟ้าและทำการคัดเลือกและออกแบบเส้นทางระบบนำส่งผู้โดยสารจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้ทั้งหมด 13 เส้นทาง หลังจากนั้นทำการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการ และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทดลองระบบนำส่งผู้โดยสาร เป็นระยะเวลา 1 เดือน 1 เส้นทาง คือ เส้นทางสถานีแยกติวานนท์ – ท่าน้ำนนทบุรี โดยคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารได้ที่ 761 คน/วันในวันธรรมดาและ 656 คน/วันในวันหยุด ในการทดลองให้บริการในวันธรรมดาและวันหยุดมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 218 คน/วันและ 106 คน/วันเรียงตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนการประเมินผลการให้บริการ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยหากมีการให้บริการเส้นทางนี้ในอนาคตส่วนใหญ่จะยังคงใช้บริการโดยเลือกรูปแบบของรถบริการขนาด 10 - 20 ที่นั่ง มีค่าโดยสารที่เหมาะสมและมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม เช่น GPS ระบุตำแหน่งรถ การชำระค่าโดยสารผ่านระบบออนไลน์ และตารางระบุเวลา เป็นต้น สุดท้ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสารสามารถต่อยอดจากบทความนี้ในการพัฒนาระบบนำส่งผู้โดยสารในการเดินทางมายังรถไฟฟ้าเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารในเส้นทางสายอื่นๆ ได้ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์