การพิจารณาออกแบบระยะการเคลื่อนขยายตัวของรอยต่อพื้นทางยกระดับที่เหมาะสมสำหรับทางพิเศษ
-
บทคัดย่อ
ในโครงสร้างคอนกรีตของพื้นทางยกระดับทางพิเศษจะมีบริเวณที่ตัดแบ่งช่วงของโครงสร้างพื้นทางสำหรับใช้เป็นรอยต่อแยกโครงสร้างออกจากกัน เพื่อแยกการยึดรั้งระหว่างโครงสร้างออกจากกัน โดยไม่ให้เกิดการถ่ายเทแรงระหว่างกันภายในโครงสร้างพื้นทางยกระดับ ซึ่งรอยต่อนี้จะช่วยรองรับการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างพื้นทางยกระดับ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเคลื่อนขยายตัวชนกัน ในปัจจุบันรอยต่อพื้นทางสำหรับติดตั้งใช้งานบนทางยกระดับนั้นมีหลากหลายรูปแบบ การพิจารณาเลือกใช้รอยต่อจากการออกแบบระยะการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างทางยกระดับให้สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างทาง ฯ ของรอยต่อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลของการยืดหดตัวของคอนกรีต (Shrinkage) การคืบ (Creep) และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (Thermal Effect) เพื่อให้รอยต่อพื้นทางสามารถรองรับการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างทางที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างพื้นทาง ส่งผลทำให้โครงสร้างพื้นทางมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถวางแผนในการซ่อมบำรุงรอยต่อพื้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดงบประมาณ ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาถึงวิธีในการออกแบบระยะการเคลื่อนขยายตัวของรอยต่อแบบแผ่นเหล็กฟันปลา (Steel Finger Joint) ที่ได้ติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นทางยกระดับของทางพิเศษกาญจนาภิเษก เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้งานรูปแบบของรอยต่อพื้นทางในบริเวณดังกล่าว
คำสำคัญ: ระยะการเคลื่อนขยายตัว, รอยต่อพื้นทาง, การยืดหดตัว, การคืบ, การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์