ความปลอดภัยของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อกักเก็บน้ำสูงกว่าระดับน้ำเก็บกัก (รนก.) เป็นระยะเวลานาน
คำสำคัญ:
เขื่อนดินถม, ดินบวมตัว, รอยแตกตามยาว, ความปลอดภัยเขื่อนบทคัดย่อ
จากการตรวจสอบสภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์โดยกรมชลประทาน ยังคงพบรอยแตกตามยาวบนถนนสันเขื่อน ซึ่งในปี 2553 ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ได้ทำการหาสาเหตุของรอยแตกตามยาว โดยการประเมินศักยภาพการบวมตัวของดินถมตัวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่เป็นเขื่อนดินถมประเภทแบ่งส่วน จาก Consolidation-Method B (ASTM D 4659-96) พบว่าดินถมเขื่อนเป็นดินเหนียวที่มีความเหนียวสูง (CH) มีแร่ Montmorillonites เป็นส่วนประกอบ ประเมินระดับการบวมตัวของดินถมเขื่อนอยู่ที่ระดับปานกลางถึงระดับสูง จากสถิติการเก็บน้ำของเขื่อนในแต่ละปีจะมีการเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับน้ำเก็บกัก (รนก.) คือ +42 ม.รทก. เป็นระยะเวลา 3-5 เดือน ซึ่งมาตรวัดความดันน้ำ (Piezometer) และบ่อวัดระดับน้ำใต้ดิน (Observation Well, OW) ซึ่งค่าที่บันทึกได้จากการตรวจวัดเครื่องมือ ในช่วงที่เกิดน้ำท่วมด้านท้ายน้ำ มีการแสดงค่าที่สูงขึ้นผิดปกติ จึงได้สร้างแบบจำลองพฤติกรรมการไหลซึม ให้สอดคล้องกับสภาวะที่มีในประวัติการใช้งานของเขื่อน และการวิเคราะห์เสถียรภาพลาดเขื่อน ที่จะนำคุณสมบัติดินบวมตัว เมื่อดินบวมตัวอยู่สภาวะเปียก-แห้ง มาปรับใช้ร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยของลาดชันเขื่อน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์