การวิเคราะห์ค่าความรุนแรงพื้นที่เผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
คำสำคัญ:
ดาวเทียมเซนติเนล-2, ค่าความรุนแรงการเผาไหม้, โมเดล ดีไซน์เนอร์, ดัชนีการเผาไหม้, พลังงานการแผ่รังสีความร้อนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลการศึกษาพื้นที่เผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ร่วมกับการประมวลผลด้วยโปรแกรม QGIS เพื่อสร้างแผนที่วิเคราะห์ค่าความรุนแรงการเผาไหม้ (Burn Severity) โดยใช้เหตุการณ์การการเกิดไฟป่าเมื่อกลางเดือนมีนาคม ค.ศ.2020 จังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา โดยทำการดาวน์โหลดภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 จากhttps://earthexplorer.usgs.gov ในสองช่วงเวลาคือช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2019 เป็นข้อมูลภาพก่อนเกิดไฟป่าและเดือนเมษายน ค.ศ.2020 เป็นภาพหลังเกิดไฟป่า จากนั้นทำการประมวลผลค่าความรุนแรงการเผาไหม้(Burn Severity) โดยใช้โปรแกรม QGIS ในการประมวลผล จากการประมวลผลมีขั้นตอนในการประมวลผลหลายขั้นตอนทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากเกินความจำเป็นและได้แก้ไขโดยสร้าง Model Designer ในโปรแกรม QGIS เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน จากการประมวลผลค่าความรุนแรงการเผาไหม้แสดงผลเป็นข้อมูล Raster จึงนำมาแปลงเป็นข้อมูลPolygonเพื่อให้ทราบถึงขอบเขตพื้นที่การเผาไหม้จากนั้นนำมาคำนวณหาดัชนีการเผาไหม้ (dNBR) โดยการจัดกลุ่ม (classification) ชั้นข้อมูลเป็น5ระดับความรุนแรงตาม USGS กำหนด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับจุดความร้อนที่มีค่า FRP > 30 บนจังหวัดเชียงใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ดังนั้นผลการศึกษาสามารถนำมาทำแผนที่แสดงพื้นที่ความเผาไหม้ (Burned area mapping) ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพิบัติภัยและพัฒนาใช้กับศาสตร์อื่นๆ
คำสำคัญ: ดาวเทียมเซนติเนล-2, ค่าความรุนแรงการเผาไหม้, โมเดล ดีไซน์เนอร์, ดัชนีการเผาไหม้, พลังงานการแผ่รังสีความร้อน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์