การส่งเสริมทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะทางสำหรับสาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำโดยใช้การเรียนการสอนเชิงรุก
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based education) โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการศึกษาที่ได้รับการยอมรับมากในหลักสูตรทั่วโลก และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการศึกษาดังกล่าวรูปแบบการจัดการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย วิธีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปคือปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เช่น การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนการแบบการสอนดังกล่าวในวิชาทางด้านวิศวกรรมยังมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาทางสาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่จะช่วยพัฒนาทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะทางของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวัดประเมินผลเฉพาะทางของผู้เรียนที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบหรือจากการสอบปากเปล่า การวัดประเมินผลด้านทักษะที่เกิดขึ้นของผู้เรียนโดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต และประเมินผลตามกรอบของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี KMUTT QF (Qualification framework) โดยรูปแบบการประเมินแบบรูบริค (Rubric scale) และประเมินด้านทัศนคติของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกด้วยใช้แบบสอบถามหรือแบบสะท้อนกลับ ผลสรุปจากการศึกษาจะสามารถระบุผลกระทบต่อการจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน และสามารถระบุผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ นำไปสู่การเป็นต้นแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อผู้เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับวิศวกรรมศาสตร์ได้
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์