การเพิ่มความลึกของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

  • พิพรรธ คุณความสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • พงศธร คำภาแย่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • โยธิน บัวชุม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • Mengky Sorn ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • Chhaya Samhean ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • สรศักดิ์ เซียวศิริกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • มานิตย์ จรูญธรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

บทคัดย่อ

      ในปัจจุบันอาคารมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานจากการออกแบบครั้งแรกเป็นจำนวนไม่น้อย และอาคารขนาดเล็กเป็นอาคารที่ถูกปรับเปลี่ยนบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนเจ้าของกิจการทำให้มีการปรับปรุงอาคารเพื่อรองรับการใช้ตามวัตถุประสงค์ เช่น การเพิ่มน้ำหนักบรรทุกของอาคาร คานเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องปรับปรุงให้สามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในการปรับปรุงคือการเพิ่มความลึกของคาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาการเพิ่มความสามารถในการรับแรงดัดของคานช่วงเดียวอย่างง่ายโดยการหล่อเพิ่มความลึกหน้าตัดคาน ตัวอย่างทดสอบใช้กำลังอัดประลัย 222 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร คอนกรีตรูปทรงกระบอกมาตรฐาน ที่อายุการบ่ม 28 วัน จำนวน 4 ชุดตัวอย่างๆมีความลึก 0.28m, 0.33m, 0.38m และ0.43m ที่แต่ละชุดมี 3 ตัวอย่าง และเสริมเหล็กรับแรงดัดที่ความลึกประสิทธิผลเท่ากับคานปรกติบ่มโดยการแช่น้ำเป็นเวลา 28 วัน แล้วทดสอบหากำลังต้านทานแรงดัดและค่าการโก่งตัว พบว่าคานคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดเสริมทั้งหมดรับแรงดัดได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริมเหล็กปรกติที่มีความลึกประสิทธิผลเท่ากัน มีค่าเฉลี่ย 3.53 เท่าของทฤษฎีโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (WSD)  และ 1.47 เท่าของทฤษฎีโดยวิธีกำลัง (SDM)

คำสำคัญ: ความลึกประสิทธิผล, พฤติกรรมการรับแรงดัด, การเสริมเหล็กรับแรงดัด

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24