การศึกษาผลกระทบต่อธุรกิจผู้ให้บริการด้านคมนาคมจากความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรในประเทศไทย

  • Tanawat Dachparot บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน)
คำสำคัญ: ธุรกิจผู้ให้บริการด้านคมนาคม, ทางพิเศษ, รถไฟฟ้า, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร, สังคมสูงวัย

บทคัดย่อ

จากความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรในประเทศไทย ที่จะนำมาซึ่งความท้าทายใหม่ให้กับผู้ให้บริการธุรกิจบริการด้านคมนาคม เช่น ธุรกิจทางพิเศษ และรถไฟฟ้า เป็นต้น โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตามโครงสร้างประชากรที่คนไทยมากกว่า 40% จะเข้าสู่วัยเกษียณและเตรียมเกษียณ ส่งผลให้การบริโภคจะเริ่มชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดสินค้าในประเทศจึงไม่สามารถเติบโตได้มากเหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังคาดว่าจะเกิดการขาดแคลนแรงงานซ้ำเติมให้ไทยไม่สามารถดึงดูดการลงทุนได้เช่นเดิม ธุรกิจดั้งเดิมที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จะไม่สามารถขยายตัวได้ อีกทั้งสังคมสูงวัยดังกล่าว ยังไปสร้างแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และเงินบาทแข็งค่า สร้างความท้าทายและข้อจำกัดต่อนโยบายทางการเงินและการคลังอีกด้วย บทความนี้จึงจะศึกษารวบรวมองค์ความรู้ที่จะสามารถนำไปประกอบการกำหนดกลยุทธของผู้ประกอบการด้านคมนาคม เพื่อให้สามารถปรับตัวในการรับมือกับความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยหาโอกาสทางธุรกิจให้สอดคล้องไปกับโครงสร้างประชากรในอนาคต ทั้งด้านการเน้นพัฒนาทักษะแรงงาน และเทคโนโลยี เพื่อชดเชยแรงงานที่หายไป และเพื่อให้เห็นว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ไทยจะต้องเจอกับความท้าทายสำคัญด้านใดบ้าง โครงสร้างเศรษฐกิจจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ธุรกิจคมนาคมจะเติบโตไปในทิศทางไหน อะไรจะเป็นแรงขับเคลื่อน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการธุรกิจผู้ให้บริการด้านคมนาคมต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

Tanawat Dachparot, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน)

วิศวกรวิจัยและพัฒนา, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BEM

เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์