การกำหนดที่ตั้งจุดบริการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมบนทางหลวงโดยตัวแบบครอบคลุมความต้องการสูงสุด: กรณีศึกษาจังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • กฤติน เจนสิราสุรัชต์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศสาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงยศ กิจธรรมเกษร

คำสำคัญ:

การจัดสรรตำแหน่งที่สามารถครอบคลุมความต้องการให้มากที่สุด, จุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน, ทางหลวง

บทคัดย่อ

จุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการช่วยเหลือและเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุ ด้วยระยะเวลาการตอบสนองในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุที่มีความรวดเร็ว และมีตำแหน่งที่ตั้งจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ งานวิจัยนี้นำเสนอตำแหน่งจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินโดยใช้วิธีการจัดสรรตำแหน่งที่สามารถครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยฉุกเฉินให้มากที่สุด (Maximal Covering Location Problem ;MCLP) จำนวนอุบัติเหตุ และระยะเวลาการตอบสนองของจุดบริการทางแพทย์ฉุกเฉินในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาตำแหน่งที่ตั้งจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินบนถนนทางหลวงที่เหมาะสมและครอบคลุมความต้องการในพื้นที่สูงที่สุด จากกรณีศึกษาจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดตาก พบว่า จำนวนจุดบริการที่กรมทางหลวงมีการวางแผน อาจไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุได้ตามมาตรฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ การเพิ่มจำนวนจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความจำเป็นในการลดระยะเวลาในการเข้าช่วยเหลือ และบางกรณีควรพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งที่สามารถดำเนินงานร่วมกันหากมีผู้ประสบอุบัติเหตุจำนวนมาก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

เจนสิราสุรัชต์ ก., & กิจธรรมเกษร ท. (2021). การกำหนดที่ตั้งจุดบริการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมบนทางหลวงโดยตัวแบบครอบคลุมความต้องการสูงสุด: กรณีศึกษาจังหวัดตาก. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, TRL-19. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/791