ผลของความยาวระยะฝังของเหล็กข้ออ้อยที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กที่มีผลต่อคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป

ผู้แต่ง

  • ชูธง กงแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

คานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป, ความยาวระยะฝัง, จุดต่อ

บทคัดย่อ

คอนกรีตเสริมเหล็กส่วนใหญ่ถูกก่อสร้างด้วยระบบหล่อในที่ (Cast-in-place) ซึ่งเป็นการก่อสร้างใช้แบบหล่อ แรงงานคน และเวลาอย่างมาก เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้เกิดระบบการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป (Precast concrete) ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดปริมาณแบบหล่อ แรงงาน และเวลาในการก่อสร้างได้เป็นอย่างมากทำให้สามารถประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพในระหว่างการก่อสร้างได้ดีกว่าการก่อสร้างแบบหล่อในที่ ดังนั้นเพื่อที่จะต้องการพัฒนาจุดต่อระหว่างเสาและคานให้สามารถติดตั้งได้ง่ายมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงกล่าวถึงคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่มีแผ่นเหล็กเชื่อมกับเหล็กข้ออ้อยฝังที่ส่วนรองรับ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ศึกษาผลของความยาวระยะฝังของเหล็กข้ออ้อยที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กที่มีผลต่อคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่ไม่มีเหล็กข้ออ้อยเชื่อมกับแผ่นเหล็กที่ออกแบบตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

กงแก้ว ช. (2021). ผลของความยาวระยะฝังของเหล็กข้ออ้อยที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กที่มีผลต่อคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, STR-17. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/790