การศึกษาการใช้พลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตและพลาสติกโพลิโพรพิลีน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีต
คำสำคัญ:
ถนนพลาสติก, แอสฟัลต์คอนกรีต, พลาสติกรีไซเคิล, วัสดุทาง, กทพ.รร.จปร.63บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณสมบัติด้วยพลาสติกรีไซเคิลประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate: PET) และพลาสติกประเภทโพรลิโพพิลีน (Polypropylene : PP) หรือที่พบเห็นได้ในรูปแบบของขวดน้ำดื่มใสและถุงพลาสติกชนิดถุงร้อน ผู้วิจัยเล็งเห็นความเป็นไปได้ในการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวการของปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการนำแอสฟัลต์คอนกรีตชนิด AC 60/70 ผสมกับพลาสติก PET และ PP ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน โดยน้ำหนัก จากนั้นทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติดัชนีซึ่งเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพวัสดุ โดยทำการทดสอบการจิ้มด้วยเข็ม การทดสอบจุดอ่อนตัว การทดสอบจุดวาบไฟและจุดติดไฟ การทดสอบการยืดตัว เมื่อทราบค่าคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบการรับกำลังและการใช้งานโดยการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธีมาร์แชล ซึ่งผลการทดสอบแสดงทำให้ทราบ ค่าเสถียรภาพมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2,133 lbs. ของตัวอย่างแอสฟัลต์ที่ไม่ผสมพลาสติกPET เพิ่มขึ้นเป็น 2,824 lbs. เมื่อผสม PET ที่อัตราส่วน ร้อยละ 10 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.40) และเมื่อใช้พลาสติก PP ผสมเพิ่มที่อัตราส่วนร้อยละ 10 ค่าเสถียรภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.92 อยู่ที่ 2,430 lbs. จาก 2,152 lbs. ของตัวอย่างแอสฟัลต์ไม่ผสมพลาสติก PP กล่าวคือจากการศึกษาทำให้ทราบว่าการใช้พลาสติกรีไซเคิลผสมกับแอสฟัลต์สามารถปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์